กรุงเทพเมือง..(อะไรอีก)

เราทั้งหลายต่างก็รู้กันดีอยู่แล้วว่าภาครัฐต่างปั้นโครงการอลังการงานสร้างต่างๆให้กรุงเทพฯเป็นศูนย์กลางของเศรษฐกิจ  สังคม  กิจกรรมต่างๆโดยใช้งบประมาณอย่างมหาศาล

อย่างโครงการแรกๆเท่าที่ข้าพเจ้านึกออกก็มี "กรุงเทพฯเมืองแฟชั่น" "กรุงเทพฯเมืองสร้างสรรค์"  "  และล่าสุดกับ"กรุงเทพฯเมืองหนังสือโลก"

แต่ทุกโครงการที่มีขึ้นมาก็ล้วนแต่ขาดการสานต่อ  ทำให้โครงการที่เคยทำไปนั้นเหมือนกับตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ

อย่างโครงการกรุงเทพฯเมืองแฟชั่น  ก่อตั้งในปี 2546  โดยใช้ยุทธศาสตร์ของ “การตลาดด้านแฟชั่น” เป็นตัวฉุดนำการพัฒนาทั้งระบบ (คือ ฉุดดึงและสร้างมูลค่าเพิ่มในทุกอุตสาหกรรมที่เก่ยวข้องกับคำว่า “แฟชั่น” ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ครบวงจรขยายตัวและเติบโตไปด้วยกันหมด)
เพิ่มเติม>ยุทธศาสตร์โครงการกรุงเทพเมืองแฟชั่น  

ส่วนตัวผมคิดว่าเป็นโครงการที่ดี  เพราะเท่าที่มองดูแล้วนอกจากโครงการนี้สามารถพัฒนาวงการแฟชั่นแล้วยังเป็นการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว  ประชาสัมพันธ์ประเทศไทยไปในตัว  ภายใต้ชื่องาน "Bangkok International Fashion Week"  ซึ่งจัดงานตั้งแต่บริเวณแยกปทุมวันไปจนถึงสถานีบีบีเอสพร้อมพงษ์กันเลยทีเดียว

ในที่สุดโครงการนี้ก็ถูกยกเลิกไปในปี 2551  แต่ก็ต้องขอบคุณภาคเอกชนที่มองเห็นถึงความสำคัญของโครงการนี้  โดยเอกชนเป็นคนควักกระเป๋าลงทุนจัดงานเองภายใต้ชื่องาน "BIFW" และ "ELLE Fashion Week" แต่ก็เป็นเพียงแค่งานเล็กๆที่จัดขึ้นบริเวณลาน ParcParagon และลาน CentralWorld Square เท่านั้น



โดยสิ่งหนึ่งที่ภาครัฐลืมคิดเกี่ยวกับการประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายในการตั้งกรุงเทพฯให้เป็นเมืองของแฟชั่นก็คือมันต้องใช้เวลา   ใช่ว่าจะจัดงานแบบนี้เพียงแค่ครั้งสองครั้งแล้วก็จะประสบความสำเร็จ
เพิ่มติม>ปิดฉากกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น

อย่างไรก็ตามในตอนหลัง คนในวงการแฟชั่นบ้านเราก็ได้ออกมาเรียกร้องให้ทำการปัดฝุ่นโครงการนี้อีกครั้ง  แต่ดูอย่างไรก็ยังคงไร้ซึ่งความหวังที่ภาครัฐจะกลับมาปัดฝุ่นโครงการนี้อีก
เพิ่มเติม>เรียกร้องกรุงเทพเมืองแฟชั่นให้กลับมาอีกครั้ง


โครงการต่อมาเกี่ยวกับการตั้งเป้าให้กรุงเทพฯเป็นศูนยืกลางก็คือ  "กรุงเทพฯเมืองสร้างสรรค์"  โดยโครงการนี้จัดขึ้นโดยศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ระดมมันสมองของคนสร้างสรรค์ ผู้มีบทบาทสำคัญในการสร้างปรากฏการณ์พัฒนา “เมือง” สู่ “เมืองสร้างสรรค์” ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองทางความคิด ในงานสัมมนา “เปิดศักยภาพกรุงเทพฯ เมืองสร้างสรรค์” (Creative City: Bangkok’s Creative Potentials) เพื่อเปิดโอกาสให้คนเมืองได้ร่วมกันค้นหาแนวทางการพลิกโฉม “มหานครกรุงเทพ” สู่ความเป็น “เมืองสร้างสรรค์” (Creative City) ชั้นนำแห่งใหม่ของโลก พร้อมเปิดตัวผลงานการวิจัยเชิงลึกในด้านการบริหารจัดการของหน่วยงานภาครัฐ และข้อมูลการสำรวจกลุ่มตัวอย่างอุตสาหกรรมแฟชั่นที่มีความสำคัญในเชิง เศรษฐกิจและความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งมีส่วนผลักดันให้ “กรุงเทพมหานคร” กลายเป็นเมืองธุรกิจยุคใหม่ที่น่าจับตามอง
เพิ่มเติม>“เปิดศักยภาพกรุงเทพฯ เมืองสร้างสรรค์”

โครงการนี้ก็เป็นอีกโครงการที่ดี  และเป็นการต่อยอดมาจากนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของทางรัฐบาล  

แต่ก็เป็นเช่นเดิม  โครงการนี้ก็ได้ล้มหายตายจาก  ขาดการสานต่อ  ทำให้ไม่เกิดผลตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ตั้งแต่แรก

และล่าสุดที่กำลังจะมาถึงในปี 2556 นี้  และก็ได้มีการประชาสัมพันธ์โครงการมาระยะหนึ่งแล้ว  ก็คือโครงการ "กรุงเทพฯเมืองหนังสือโลก"

โดยโครงการนี้เกิดขึ้นโดยที่'กรุงเทพฯได้ชนะการคัดเลือกโดย
  • ผู้แทนจากสมาคมผู้จัดพิมพ์นานาชาติ (IPA)
  • สหพันธ์ผู้จำหน่ายหนังสือนานาชาติ (IBF)
  • สหพันธ์สมาคมและสถาบันห้องสมุดนานาชาติ (IFLA)
  • องค์การสหประชาชาติ (UNESCO)

เป้าหมายของโครงการนี้ก็คือ  การทำให้คนกรุงเทพฯอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นประมาณ ๑๐-๒๐ เล่มต่อปี ภายในปี ๒๕๕๖ จากเดิม ปัจจุบันเฉลี่ยอ่านหนังสือเพียง ๕ เล่มต่อปีเท่านั้น โดยมีกลุ่มเป้าหมายสำคัญคือ เด็กและเยาวชน
เพิ่มเติม>Bangkok World Book Capital 2013 กรุงเทพฯเมืองหนังสือโลกปี 2556


โดยล่าสุดได้ส่งเสริมการอ่านของคนกรุงเทพฯโดยการจัดทำ TVCชุด 'แค่ถือหนังสือก็ฉลาดแล้ว'  แต่TVCที่ได้ปล่อยออกไปก็ได้เป็นประเด็นร้อนในสังคมออนไลน์  ด้วยเหตุผลที่ว่า  "การดูดี หรือ ความฉลาด ไม่ใช่แค่ การหยิบมาอ่าน แต่ขึ้นกับว่า อ่านอะไร แต่ในขณะเดียวกัน การอ่าน ก็ไม่ได้ใช้เพื่อสรุปแทน ความดูดี หรือ ความเป็นคนฉลาด แต่ การอ่านเป็นการเปิดโลกทัศน์เราให้กว้าง ให้ลึก ฝึกให้คิด ฝึกให้เข้าใจ ซึ่งนั่นเป็นการพัฒนา ทรัพยากรพื้นฐานในสังคมอันได้แก่ มนุษย์ ซึ่งหากพัฒนามากขึ้น ก็จะยิ่งช่วยพัฒนาสังคมให้รุดหน้ามากขึ้น  การกระตุ้นให้บ้านเราเป็น เมืองหนังสือโลก จึงไม่น่าจะใช่ จำนวน แต่คือเนื้อหาว่า คนส่วนใหญ่อ่านอะไร และ รัฐเข้าใจวัตถุประสงค์หรือส่งเสริมให้คนอ่านอย่างไร"
ตัวอย่างTVCของโครงการ"กรุงเทพฯเมืองหนังสือโลก"
นอกจากนี้ ยังมี เสียงวิจารณ์จาก ปราบดา หยุ่น นักเขียนรางวัลซีไรท์ชื่อดัง ที่ออกมาแสดงมุมมองของตน ต่อโฆษณากรุงเทพเมืองหนังสือ ด้วยว่าโฆษณาดังกล่าวเป็นการหลอกลวงผู้รับสาร เพิ่มเติม>วิจารณ์หนัก! โฆษณา กรุงเทพเมืองหนังสือโลก แค่ถือหนังสือสร้างภาพ
  การล้อเลียนTVCของโครงการ"กรุงเทพฯเมืองหนังสือโลก"
นี่คงเป็นเพียงแค่อุปสรรคเพียงเล็กน้อยในจุดเริ่มต้นของโครงการนี้เท่านั้น  แต่โครงการนี้จะสำเร็จลุล่วงตามจุดประสงค์ได้โดยต้องเปลี่ยนิสัยขี้เกียจ  และนิสัยไม่รักการอ่านของคนไทยเสียก่อน ข้าพเจ้าคิดว่าโครงการที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนั้น  ถ้าหากได้รับการสานต่อ  และจัดงานขึ้นเป็นประจำก็จะเกิดผลตามที่ได้ตั้งไว้   โดยทั้งนี้ทางภาครัฐต้องใจเย็น  และใส่ใจกับโครงการนี้อย่างจริงจังเสียก่อน ที่กล่าวมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น  ยังไม่ได้รวมถึงงาน "Bangkok International Film Festival"  และงานอื่นๆที่เกิดขึ้นแล้วล้มเหลว เพราะไม่ได้รับการสานต่อ และขาดการสนับสนุนอีกมากมาย  และต่อไปจะมีโครงการอะไรมาอีก  และจะประสบความสำเร็จสักเพียงใด...ต้องติดตามชมกันต่อไป 

อ้างอิง 

This entry was posted on and is filed under ,,,,,,,. You can follow any responses to this entry through the RSS 2.0. You can leave a response.

Leave a Reply

Share



Total View

พีรณัฐ ไกรคุ้ม Peeranat Krikhoom
bkk09man@gmail.com