Archive for 2011

อย่าเฉยต้องแจ้ง

No Comments »


พบเห็นเจ้าหน้าที่ทุจริตหรือร่ำรวยผิดปกติ โปรดส่งข้อมูลมายัง
สำนักงาน ป.ป.ช
ตู้ปณ. 100  เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทร 0-2528-4800

โรคติดอินเตอร์เน็ต

No Comments »

โรคติดอินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมแพร่หลายและ เจริญเติบโตอย่างทวีคุณมันกำลังจะทำให้เกิดโรคใหม่ชนิดหนึ่ง ซึ่งแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว คือ "โรคติดอินเทอร์เน็ต"


IAD = Internet Addiction Disease

เมื่อเดือนธันวาคม ปี 1996 เป็นครั้งแรก ที่สื่อมวลชนเริ่มประโคมข่าวโรคติดอินเทอร์เน็ตโดยเกิดกลุ่มอาการทางจิตหลายอย่าง เนื่องมาจากการใช้เน็ตมากเกินไป เช่น ซึมเศร้า แยกตัวเอง ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม


โรคติดอินเทอร์เน็ตนั้นก็คล้ายๆ กับการติด สิ่งเสพติด ต่างที่สร้าง ปัญหาให้เกิดกับ อารมณ์ ร่างกาย สังคม

ทำไมคนถึงติดอินเทอร์เน็ตได้??
เมื่อพิจารณาถึงธรรมชาติของอินเทอร์เน็ต จะพบว่าผู้ใช้เกิดความผูกพันกับเพื่อน On-line หรือกิจกรรมต่างๆ ในอินเทอร์เน็ต การใช้บริการทำให้เขาสามารถสร้างสังคมใหม่ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่นในลักษณะที่ มีปฎิสัมพันธ์ได้เหมือนสังคมจริง(virtual - Community) นี้ เปิดโอกาสให้เขาได้หลีกหนีความเป็นจริง ค้นพบวิธีที่จะเติมความต้องการ ทางอารมณ์ หรือ ทางจิตวิทยาที่หายไปได้

ในอินเทอร์เน็ตเขาสามารถปิดบังชื่อ อายุ อาชีพ เพศ รูปร่าง ลักษณะภายนอกได้ ด้วยเหตุนี้ผู้ใช้เน็ตที่มีความรู้สึกเปล่าเปลี่ยว ไม่มั่งคงผิดหวังหรือเจ็บปวดจากการใช้ชีวิตจริง   จึงมาพบทางออกที่ปลดปล่อยความปรารถนา โลกแห่งความฝันเฟื่องที่ไม่มีขอบเขตจำกัด และทำให้จมดิ่มลงไปติดอินเทอร์เน็ต อย่างรวดเร็วและรุนแรง


ความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากโรคติดอินเทอร์เน็ต
แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มใหญ่ คือ

 

1.  Cybersexual Addiction
  • การติด Adult Chat Room ผู้เป็นโรคติด อินเทอร์เน็ต หนึ่งในห้า จะเกี่ยวข้องกับกิจกรรม ทางเพศ on-line เช่นการดู Cyberporn หรือ เข้าร่วมใน Cybersex คนในกลุ่มนี้จะไม่มีความ มั่นใจในตัวเอง Body Image ที่ผิดปกติ ความ วิปริตทางเพศไม่ได้รับการรักษา หรือพวกที่หมกมุ่น ทางเพศมาก ในกลุ่มเปล่านี้จะเกิดอาการ เสพติด Cybersex ได้ง่ายมาก นอกจากนี้ Cybersex เป็นทางออก ที่ปลอดภัย ค่าใช้จ่าย ถูก และปราศจากโรคติดเชื้อ 
2.  Cyber-Relationship Addiction
  • คือการคบเพื่อนจาก Chat Room, Newsgroup นำมาทดแทนเพื่อนหรือครอบครัวในชีวิตจริง ตลอดจนถึงการพัฒนาไปสู่ภาวะชู้สาวที่เกิดขึ้น ทางอินเทอร์เน็ต

3.  Net Complusion 

  • คือภาวะการติดการพนัน การประมูล สินค้าการเสื้อขายทางเน็ต


4. Information Overload 
  • ภาวะที่ทำการค้นหา ข้อมูล และ Web Surfing ได้อย่างมากมายและ ไม่สามารถยับยั้งได้

5. Computer Addition

  • การใช้คอมพิวเตอร์  หรือการเล่นเกมทางคอมฯ ในลักษณะที่ไม่ สามารถยับยั้งใจได้

อาการเตือนของการเริ่มติดอินเทอร์เน็ต สรุปได้ดังนี้


  1. มีความรู้สึกผูกพันกับเน็ตมาก เช่น คิดถึงแต่กิจกรรมทางเน็ตที่ผ่านมา ตั้งหน้า รอคอยการ on-line ครั้งต่อไป 
  2. มีความรู้สึกจำเป็นต้องใช้เน็ตในประมาณ เวลาที่มากขึ้น เพื่อให้บรรลุความพอใจของตน
  3. ประสบความล้มเหลวในการพยายามควบคุม ลดหรือหยุดการใช้เน็ต
  4. หงุดหงิด ซึมเศร้า โกรธง่าย เมื่อพยายามลด หรือหยุดใช้เน็ต
  5. มักจะ on-line นานมากกว่าความตั้งใจเดิม 
  6. สูญเสียด้านความสัมพันธ์กับครอบครัว บุคคล อื่นๆ การงาน การเรียนหรืออาชีพ
  7. ใช้อินเทอร์เน็ตหลีกหนีปัญหาหรือความคับข้องใจ เช่น ความรู้สึกผิด ท้อแท้ ความวิตก


ปัญหาที่สำคัญในการรักษาโรคติดเน็ต ก็คือ การปฏิเสธว่าตัวเองไม่ติดเน็ต  การรักษาแบบ ง่ายๆ ก็คือ การดึงปลั๊กออก ตัดสายโมเด็ม หรือโยนเครื่องคอมพิวเตอร์ทิ้งไป ความสำคัญ ของวิธีการรักษาก็อยู่ที่การหาความสมดุลย์ ระหว่างการใช้เน็ตกับกิจวัตรประจำวัน

 
อินเทอร์เน็ตมีประโยชน์มหาศาล ถ้านำมาใช้ให้ ถูกวิธีและพยายามปรับปรุงจากการเรียนรู้ใหม่ เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพ หรือเพื่อทำให้ หายป่วยเร็วขึ้น

เรียบเรียงข้อมูลจากpantip

วิธีเซ็นชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง...รู้ไว้ไม่เป็นหนี้ #thaiflood #bkkflood

No Comments »

วิธีเซ็นชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง...รู้ไว้ไม่เป็นหนี้

ตัวอย่าง / บางคนอาจใช้ขีดเส้นขนาน แล้วเขียนข้อความ / เซ็นรับรอง
 

วันนี้ เอาวิธีเซ็นชื่อรับรองสำเนาที่ถูกต้อง มาแบ่งปันให้คุณรู้ไว้จะได้ไม่เป็นหนี้ เป็นเรื่องใกล้ตัวที่ประมาทไม่ได้เลยล่ะ เพราะหากเซ็นไม่ถูกวิธีแม้เพียงนิดเดียว คุณอาจตกเป็นหนี้โดยไม่รู้ตัวจากผู้ที่ไม่ประสงค์ดีที่นำเอาเอกสารสำเนาบัตร ประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน หรือสำเนาเอกสารสำคัญอื่นๆ จากการเซ็นรับรองของเราไปทำประโยชน์ส่วนตน แต่สร้างหนี้ที่ไม่ได้ก่อให้กับเรา ดังนั้นจึงขอแนะนำว่า...ทุกครั้งหากต้องเซ็นเอกสารรับรองสำเนาอย่าลืม ...จำ...และทำตามขั้นตอนต่อไปนี้นะครับ...

1) ทุกครั้งหลังจากเซ็นชื่อ และเขียนรับรองสำเนาถูกต้องแล้ว ต้องเขียนรายละเอียดกำกับไว้ด้วยว่า..เอกสารฉบับนั้นใช้สำหรับทำอะไร เช่น "ใช้เฉพาะสมัครงานเท่านั้น"
 

2) นอกจากกำกับรายละเอียดการใช้แล้ว ยังต้องกำกับ วัน/เดือน/ปี เขียนลงบนสำเนาที่ใช้ด้วยนะครับ ซึ่งนั่นจะช่วยกำหนดอายุการใช้งานสำเนาของเราได้
 

3) ต้องเขียนข้อความทั้งหมดทับลงบนสำเนาส่วนที่เป็นบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน หรือสำเนาเอกสารอื่นๆ ที่สำคัญ
 

ทั้ง สามข้อคือวิธีเซ็นที่ถูกต้องในการรับรองสำเนาอย่างรัดกุม ไม่เปิดช่องทาง ให้กับมิจฉาชีพ เอาไปสร้างหนี้ให้กับเรา ต่อไปนี้ต้องระวัง เพราะคุณอาจเป็นรายต่อไป ที่จู่ๆก็มี หนี้ตามมาเคาะประตูถึงบ้าน รู้อย่างนี้แล้วก็อย่าลืมทำตามล่ะ
 

4) ในกรณี ที่เซ็นเอกสาร ต้องใช้ปากกาหมึกสีดำเท่านั้น ถึงจะปลอดภัยที่สุด เพราะเครื่องถ่ายเอกสาร บางเครื่อง สามารถถ่ายเอกสารโดยดึงหมึกสีน้ำเงินออก เหลือใช้เฉพาะข้อความของบัตรประชาชน แล้วทำให้มิจฉาชีพ เซ็นเอกสารบัตรประชาชนนั้น แทนเราได้เลย ****เพราะฉะนั้นเราควรเซ็นด้วยปากกาสีดำเท่านั้น เพราะไม่สามารถดึงหมึกสีดำออกได้ หรือถ้าดึงสีดำออกได้ข้อความก็จะหายไปหมดเลยทั้งหน้าบัตรประชาชนครับ

ขอรับบริจาคขวดพลาสติก เพื่อนำบรรจุน้ำหมักชีวภาพ #thaiflood #bkkflood #bkk24

No Comments »

ธนาคารวัสดุรีไซเคิล มศว ขอรับบริจาคขวดพลาสติกเปล่า เพื่อนำบรรจุน้ำหมักชีวภาพบำบัดน้ำเสีย (EM) และจะนำไปแจกจ่ายให้กับผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ต่างๆ ผู้สนใจสามารถบริจาคขวดพลาสติกได้ที่ศูนย์พัฒนาสภาพกายภาพฯ ทุกวันทำการ เวลา 8.30-16.30 น. สอบถามเพิ่มเติมโทร.02-649-5000 ต่อ 5992

หน่วยงาน ศูนย์พัฒนาสภาพกายภาพ การจัดการขนส่งและความปลอดภัย

มศว ทำศูนย์พักพิงต้นแบบ สอนระเบียบวินัยชีวิต

No Comments »

มศว ทำศูนย์พักพิงต้นแบบ“สอนระเบียบวินัยชีวิต”
จัดเสื้อผ้าแจกน้ำท่วมเป็นแผนกให้ผู้ประสบภัยเลือกใช้ เน้นบรรยากาศห้างสรรพสินค้า
เตรียมเสนอรมต.ศธ. ทำโครงการฟื้นฟูจิตใจและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ประสบอุทกภัยในศูนย์พักพิง

เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2554 ผศ.นพ.เฉลิมชัย บุญญะลีพรรรณ อธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) พร้อมผู้บริหารอีกหลายท่าน ได้เข้าเยี่ยมศูนย์ผู้อพยพจากอุทกภัย ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์

 

ผศ.นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เปิดเผยว่าขณะนี้มศว องครักษ์เปิดป็นศูนย์พักพิงให้กับผู้ประสบอุทกภัยจำนวน 270คน แต่ละคนอพยพจากศูนย์พักพิงอื่นๆ ที่น้ำเริ่มสูงขึ้น มีจำนวนไม่น้อยที่ย้ายสถานที่พักพิงอื่นๆมาแล้ว 3 -4 ศูนย์ และจากการลงพ้นที่ดูความเรียบร้อยของศูนย์พักพิงที่มศว องครักษ์ นั้นพบว่าทีมงานผู้บริหารเจ้าหน้าที่ อาจารย์ และนิสิตแพทย์ร่วมกันทำงานอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะการเข้ามาใช้บริการศูนย์พักพิง ต้องแจ้งชื่อ นามสกุลก่อนจะเข้าพักทุกครั้ง เพราะป้องกันมิชฉาชีพที่จะเข้ามา นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญเรื่องการรักษาพยาบาลแก่ผู้ประสบอุทกภัย มีแพทย์เวรประจำการยังศูนย์พักพิงตลอดเวลา การจัดระบบเข้าพักพิง ณ มศว องครักษ์ นิสิตคณะแพทย์ช่วยวางระบบไว้อย่างดีมาก อีกทั้งนิสิตแพทย์ส่วนใหญ่จะเรียนและพักอยู่ที่องครักษ์อยู่แล้วจึงทำให้มี เวลาในการเป็นอาสาสมัครศูนย์พักพิง มศว ซึ่งในวันที่ 7 พ.ย. 2554 นิสิตแพทย์มศว เปิดเรียน จึงได้จัดวางระบบให้นิสิตคณะอื่นๆ ที่มีจิตอาสาที่ต้องการทำงานป็นอาสาสมัคร โดยจะสอนงานให้ก่อนเข้าเป็นอาสาสมัครจริงอีกด้วย

“จากประสบการณ์การบริหารงานศูนย์พักพิง มศว องครักษ์ ทำให้เรามองเห็นว่า จะขยายแนวคิดศูนย์พักพิงต้นแบบขึ้น เพราะเห็นพัฒนาการของผู้ประสบภัย ตอนนี้การบริหารงานจะใช้หัวหน้าตอนดูจากการเรียงแถวที่นอนให้หัวหน้าตอนดูแล สมาชิกเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย การทำอาหารก็ช่วยกันทำ การจะให้ผู้ประสบภัยนั่ง ๆนอน เขาก็เครียด ให้คนที่มีจิตอาสาเขามาช่วยกันทำกับข้าว ร่วมกันรับผิดชอบภาชนะของตัวเองโดยมศว ได้แจกจาน ชาม ช้อนและแก้วน้ำให้ทุกคน จากนั้นให้ใช้และนำไปล้าง เพราะการใช้ถุงพลาสติกหรือ กล่องโฟมเป็นการสร้างขยะจำนวนมาก เมื่อเปลี่ยนมาใช้ภาชนะของตัวเองขยะลดลง ทั้งนี้เสื้อผ้าที่มีคนนำมาบริจาคเป็นถุงๆ เราก็นำมาพับและทำเป็นร้านเสื้อผ้าขึ้น ผู้ประสบภัยคนใดต้องการเสื้อผ้าก็มาเลือกหยิบได้ ตามความชอบ ดูขนาดดูสีที่ชอบ แต่ใส่แล้วต้องซัก ไม่ใช่เอาไปทิ้ง มศว จัดที่ซักเสื้อผ้าให้ ตลอดถึงเรื่องการกินอาหารในแต่ละมื้อก็จัดเป็นเวลา ผู้ประสบภัยได้มาเรียนรู้เรื่องของระเบียบวินัย วัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันโดยมีมหาวิทยาลัยเป็นผู้วางระบบระเบียบชีวิตให้ มีผู้ประสบภัยจำนวนมากเห็นการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของตัวเอง จากเดิมเข้าแถวไม่เป็น แซงคิวคนอื่นตลอด ชีวิตไม่มีระเบียบวินัย ก็เริ่มมีระเบียบมากขึ้น ทั้งนี้ผมได้ให้นโยบายว่าผู้ประสบภัยจะอยู่กันเฉยๆ ไม่ได้ เมื่อเข้ามาศูนย์พักพิงมศว ต้องมีความรู้กลับไป จึงได้ให้หัวหน้าตอนไปคุยกับสมาชิกประจำแถวว่า อยากเรียนวิชาชีพอะไร มศว จะจัดสอนให้ ตอนนี้เริ่มที่การเรียนภาษาอังกฤษ ประดิษฐ์ดอกไม้ วาดภาพ ซึ่งได้มอบหมายให้คณะมนุษยศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์รับผิดชอบในเรื่องนี้”
 

ผศ.นพ.เฉลิมชัย กล่าวอีกว่าจากประสบการณ์ของคณะจารย์ เจ้าหน้าที่และนิสิตมศวที่ทำงานด้านการบำบัดจิตใจ ฟื้นฟูผู้ประสบอุทกภัยในหลายๆ สถานที ๆได้ออกไปให้บริการด้วยจิตอาสา ทำให้มศว คิดโครงการฟื้นฟูจิตใจและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ประสบอุทกภัยในศูนย์พักพิงโดย นำศาสตร์ทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ศิลปะ มนุษยวิทยา จิตวิทยา เข้ามาช่วยผู้ที่ประสบปัญหา ฟื้นฟูและพัฒนาจิตใจให้พวกเขามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจะนำโครงการนี้เสนอต่อ รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในโครงการนี้ มศว จะทำการอบรม แนะนำวิธีการตลอดถึงมอบอุปกรณ์ต่างๆ ให้แก่เจ้าหน้าที่ศูนย์พักพิงอื่นๆ ด้วยเพื่อให้เขามีความรู้ ทักษะในการใช้ฟื้นฟูจิตใจ พัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ประสบอุทกภัยในศูนย์พักพิงต่างๆ ด้วย ถือเป็นการเตรียมตัวเองเพื่อรับมือต่อปัญหาภัยพิบัติต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตต่อไปด้วย
 

ในส่วนของศูนย์พัฒนาสภาพกายภาพฯ มศว องครักษ์ ผศ. สมชาย ไกรสังข์ รองอธิการบดีฝ่ายเครือข่ายการเรียนรู้กล่าวว่า ในวันที่ 10 พฤศจิกายนนี้ ซึ่งตรงกับวันลอยกระทง ประเพณีเก่าแก่ของไทยแต่โบราณจะจัดให้ผู้อพยพได้ผ่อนคลายโดยให้ออกความคิด เกี่ยวกับรูปแบบการเล่นและลอยกระทงร่วมกันซึ่งวัสดุต่างๆ ทางศูนย์พัฒนาสภาพกายภาพฯ จะจัดเตรียมไว้ให้ และงานวันลอยกระทงจะเริ่มตั้งแต่เวลา 16.00-18.00 น. และผศ.นพ. เฉลิมชัย บุญญะลีพรรณ อธิการบดี มศว จะมาร่วมงานและเป็นประธานในพิธีด้วย

แหล่งข้อมูล :: SWU Weekly   ประจำวันที่ 4 พฤศจิกายน 2554

มศว ชี้ปรากฏการณ์อุทกภัยแบ่งคนเป็น 7 ประเภท (มาดูกันว่าคุณอยู่ในประเภทไหน)

No Comments »

ดร.จิตรา ดุษฎีเมธา ประธานโครงการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เปิดเผยว่าผู้คนในสังคมจากเหตุการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้น ทำให้เห็นปรากฏการณ์ทางสังคมมากมาย โดยเฉพาะผู้คนในสังคมที่มีอยู่หลากหลายและสามารถแบ่งได้เป็น 7 ประเภท และแต่ละประเภทต้องได้รับการเปลี่ยนแปลงตัวเองและต้องแก้ไขตัวเองด้วย มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาสังคมตามมาอีก

1. กลุ่มคนที่เข้าช่วยเหลือ เผื่อแผ่ แป่งปัน
แม้ว่าบุคคลที่เขาช่วยจะไม่ใช่ญาติหรือพี่น้อง หรือแม้แต่คนที่เขาไม่ชอบหน้า และแม้ว่าตัวเองจะไม่ประสบกับวิกฤติชะตากรรมนี้ เมื่อเห็นคนอื่นทุกข์ก็จะรีบเข้าไปช่วย ทั้งแรงกาย แรงใจ แรงทรัพย์ อะไรที่สามารถช่วยได้ จะรีบเข้าช่วยเหลือ ด้วยจิตสำนึกมนุษยธรรม วิธีการปรับตัวและแก้ไข บุคคลประเภทนี้ ต้องเตือนตัวเองเรื่องของการทุ่มเทมาเกินไป เพราะการโหมกับบางสิ่งมากเกินไป อาจทำให้ร่างกายทรุด อารมณ์แย่และกลายมาเป็นกลุ่มเหยื่อแทน ท้ายที่สุดต้องการให้คนอื่นมาดูแลตัวเองแทน ต้องปรับตัวเองด้วยการมีการเปลี่ยนผลัดการทำงานเพื่อส่วนรวม ผลัดเวรกัน เปลี่ยนบทบาทการทำงานลงบ้าง  

2. กลุ่มคนที่ต้องทำตามหน้าที่ หรือภาระความรับผิดชอบซึ่งต้องทำงานโดยมีภาระหน้าที่และมีจิตใจที่อาสาอยาก จะช่วยเหลือและเห็นความทุกข์ของผู้อื่นก็พร้อมและยินดีเข้าช่วย โดยเก็บเรื่องราวและความทุกข์ของตัวเองไว้ก่อนแต่จะยึดหน้าที่ภาระรับผิดชอบ เป็นหลัก วิธีการปรับตัวและแก้ไขจะต้องให้กลุ่มคนกลุ่มนี้มีเวลาพักพร้อมไปกับหาต้น ทุนชีวิตให้ตัวเอง เพื่อจะได้มีแรงในการทำงานต่อไป เพราะการทำงานนานๆ และเห็นเหตุการณ์ใดๆ นานๆจะทำให้เกิดอาการล้า เหนื่อย และบางคนอาจจะคิดต่อไปว่า หน้าที่ก็ต้องทำ ตัวเองและครอบครัวยังเอาตัวไม่รอด จึงอยากให้กลุ่มคนกลุ่มนี้ได้พัก หาสิ่งที่เติมเต็มให้ตัวเองก่อน เพื่อจะได้มีแรงเติมเต็มในการทำงานต่อไป  

3. กลุ่มคนที่ร่วมด้วยช่วยกัน โดยเมื่อเราทุกข์ก็เห็นทุกข์ของคนอื่น จะช่วยกันประคับประคองกันและกัน ช่วยเหลืออะไรได้ก็จะช่วย ทำอะไรก็จะทำ และบุคคลกลุ่มนี้จะคิดว่าไม่ใช่ตัวเองคนเดียวที่ทุกข์คนอื่นก็ทุกข์และประสบ ชะตากรรมเดียวกับเรา เขาจึงมีกำลังใจที่จะร่วมทุกข์ร่วมสุขกับผู้อื่น วิธีการปรับตัวและแก้ไขต้องกระทำตนให้เป็นทั้งผู้ให้และผู้รับ หากรู้สึกแย่ก็พร้อมรับกำลังใจ หากพอจะประคับประคองใจได้ ก็ร่วมเป็นกำลังใจให้ผู้อื่น อยากให้บุคคลกลุ่มนี้เติมใจแกร่ง ดูแลตัวเองให้รอด เก็บแรงไว้เพื่อสร้างขึ้นมาใหม่ในวันข้างหน้าเพราะไม่ใช่ตัวเราคนเดียวที่ ได้รับชะตากรรมนี้  

4. กลุ่มคนที่เอาตัวเองให้รอด เอาตัวเองให้พ้นคนอื่นเป็นอย่างไรไม่สนใจ แต่ตัวเองต้องไม่เป็นอะไรและเมื่อเขารอดค่อยว่ากันว่าจะทำอย่างไรต่อ กลุ่มคนประเภทนี้ถ้ามีใครเข้ามาช่วยเขาก็จะขอบคุณ แต่ถ้าใครรุกล้ำก็จะเดือดดาล หากตัวเขาเองเป็นอะไรไปหรือต้องประสบชะตากรรม เขาจะไม่ยอมและจะพยายามให้คนอื่นเป็นอย่างเขาด้วย วิธีการปรับตัวและแก้ไข คนกลุ่มนี้ต้องรู้จักคำว่า เรา ให้มากกว่า ฉัน คนกลุ่มนี้ต้องฝึกตั้งสติ ดับอารมณ์การสูญเสียลงบ้าง โดยเฉพาะคำพูดที่อยู่ในตัวตนที่ว่า ทำไมฉันต้องโดนทำไมบ้านฉันต้องโดนน้ำท่วม ทำไมคนอื่นไม่โดน อย่างฉัน ลดการคิดที่จะพูดว่า ฉันต้องได้ ฉันต้องรอด และต้องฝึกเสียสละ ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับผู้อื่นเพื่อจะร่วมกันสร้างสุขร่วมกับผู้อื่นบ้าง  

5. กลุ่มคนที่ยังไม่ได้รับผลกระทบใดๆ ทั้งสิ้น แต่ผวาวิตกกังวลจริต คิดไปต่างๆ นาๆ ในด้านลบด้านร้าย พร้อมยังแตกตื่นหรือตื่นตูมกับทุกเรื่องที่ร้ายๆ ได้ยินได้ฟังข่าวสารต่างๆ จิตเตลิดตลอดเวลา วิธีการปรับตัวและแก้ไขให้เลิกรับรู้เรื่องราวข่าวสารต่างๆ เปลี่ยนเรดาร์สายตา ดูเรื่องดี ฟังเรื่องบวก อื่นๆ บ้าง เ พื่อลดอาการรน แปลงความตระหนกตกใจ เป็นหาอะไรทำเพื่อป้องกัน ให้รู้สึกว่าได้ทำอะไรเพื่อคลายล๊อคความรู้สึกแย่ลง  

6. กลุ่มคนที่ยังไม่ได้รับผลกระทบใดๆ แต่ตั้งตัว ตั้งสติ เตรียมตัว เตรียมพร้อมเพื่อรับมืออย่างตื่นตัวแต่ไม่ได้ตื่นกลัว หรือทำให้แตกตื่น และตื่นตระหนก คิดแก้ปัญหาหาทางออกเพื่อรับมือกับสถานการณ์ วิธีการปรับตัวและแก้ไขกลุ่มตื่นตัว ตั้งสติ กลุ่มนี้ ให้เก็บใจ เก็บแรง เก็บกายไว้ เพื่อเป็นตัวแบบ และเป็นหลักให้กับกลุ่มอื่นด้วย มีเวลา พัก ให้กับตนเอง และช่วยเป็นแรงเสริมให้กลุ่มอื่นๆ บ้าง  
7. กลุ่มคนที่ไม่พายแต่เอาน้ำราน้ำตลอดเวลา วิพากษ์วิจารณ์คนอื่น เอาแต่พูด เหน็บหาเรื่องตำหนิได้เสมอ พร้อมทำให้สังคมแตกแยก คนกลุ่มนี้จะสนุกกับการทำให้ผู้อื่นตื่นตระหนก ชอบขยายเชื่อมโยงเนื้อหาสาระข้อมูลข่าวสาร แต่ไม่ได้ช่วยทำให้สถานการณ์ต่างๆ ดีขึ้น มีแต่จะนั่งดูและพูดถึงคนอื่นในด้านลบอย่างเดียว วิธีการปรับตัวและแก้ไข ให้พูดน้อย ทำให้มาก เปลี่ยนการเสียดสี มาเป็นจิตอาสา เอาแรงมาปลอบขวัญคนดีกว่า เอามือเขียนสิ่งสร้างสรรค์ ส่งเสริมกำลังใจคนไทยในประเทศกันดีกว่า เพราะตอนนี้ เป็นเวลาช่วยกันมากกว่าจะโทษกัน
 

ดร.จิตรา กล่าวอีกว่า สำคัญมากในช่วงนี้ สำหรับทุกคน ทุกกลุ่ม คือ กายต้องรอด ต้องไม่เจ็บป่วย ใจต้องแกร่ง คือ จิตไม่ตก เพราะหากไม่มีแรง กาย แรงใจ เราจะไม่สามารถมองไกลไปถึงวันหน้าได้ อยากให้คนไทยทุกคนโดยเฉพาะผู้ที่ต้องประสบกับปัญหาอุทกภัยรู้จักตื่นตัว แทนการตื่นกลัว ตั้งสติให้ได้ แทน สติแตกแล้วมองปัญหาว่าสามารถคลี่คลายได้เสมอ

มศว เตรียมความพร้อม ช่วยเหลือประชาชนย่านองครักษ์

No Comments »

จากการที่ได้เกิดเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ไหลบ่าทะลักในเขตพื้นที่อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ซึ่งเป็นเขตพื้นที่เชื่อมต่อกับที่ตั้งของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) อ.องครักษ์ ในการนี้ เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2554 คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อธิการบดี มศว ได้เดินทางพร้อมด้วยผู้นำชุมชนหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน และเจ้าหน้าที่ อบต. ตลอดจนคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย บุคลากรเจ้าหน้าที่และนิสิตจิตอาสา ไปมอบถุงยังชีพกว่าหนึ่งพันถุงแก่ครอบครัวของพี่น้องประชาชนที่เดือดร้อนจากภัยพิบัติน้ำท่วมครั้งใหญ่ 50 กว่าครอบครัว ทั้ง 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 5 หมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 7 รวมทั้งสิ้นกว่า 1,000 คน ซึ่งล้วนเป็นผู้ประสบอุทกภัยที่อาศัยและประกอบอาชีพทำนาอยู่รอบบริเวณ มศว องครักษ์ เพื่อเป็นขวัญลกำลังใจในการบรรเทาทุกข์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ของชุมชนที่มีความใกล้ชิดกับมหาวิทยาลัยมาโดยตลอด


ในครั้งนั้นอธิการบดี มศว ได้แสดงความห่วงใยต่อความเป็นอยู่ของประชาชนที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่องครักษ์และมีความประสงค์ที่จะให้ มศว องครักษ์ เป็นศูนย์พักพิงชั่วคราวสำหรับประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม โดยคาดว่าจะเปิดศูนย์อพยพชั่วคราวขึ้นที่บริเวณอาคารศูนย์กีฬา มศว องครักษ์ และคาดว่าในระยะแรกมหาวิทยาลัยจะสามารถรองรับประชาชนที่เดือดร้อนได้ประมาณ 500 คน รวมถึงการให้บริการความช่วยเหลือในด้านอื่นๆ ที่จะตามมาในภายหลัง เช่น การให้บริการการดูแลรักษาความเจ็บป่วยเล็กๆ น้อย หรือการรักษาเยียวยาโรคที่เกิดจากน้ำท่วมแก่ประชาชนที่จะขอความร่วมมือไปยังศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ของ มศว เป็นต้น


ล่าสุด เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2554 อธิการบดี มศว กล่าวว่า “ ขณะนี้ มศว องครักษ์ ได้ให้ความช่วยเหลือประชาชนในองครักษ์ไปเป็นจำนวนมากในเรื่องการรักษาพยาบาล การเยี่ยมบ้าน แจกถุงยังชีพ เป็นต้น ส่วนในเรื่องรับประชาชนมาพักอาศัยเป็นศูนย์บรรเทาทุกข์ ขอชะลอไปก่อนเพื่อให้ทาง มศว ได้เตรียมความพร้อมในการรับเป็นศูนย์บรรเทาทุกข์ที่มีคุณภาพเต็มที่ แต่พร้อมที่จะร่วมมือกับทางรัฐบาลในการดำเนินการช่วยเหลืออย่างเต็มที่ต่อไป เมื่อมีความคืบหน้าจะแจ้งให้ทราบต่อไป ”

แหล่งข้อมูลอ้างอิง
SWU Weekly ฉบับที่ 216 วันพุธที่ 19 ตุลาคม 2554
(รับแจ้งข้อความลายลักษณ์อักษรจากอธิการบดี มศว
ถึงผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศและการประชาสัมพันธ์
เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2554 )

หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินสำหรับช่วยผู้ประสบอุทกภัย

No Comments »

• กรมทางหลวง เพื่อให้ประชาชนสอบถามข้อมูลน้ำท่วมได้ตลอด 24 ชั่วโมง 1586
• สำนักนายกรัฐมนตรี ขอความช่วยเหลือน้ำท่วม สามารถสอบถามได้ตลอด 24 ชั่วโมง 1111
• สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ขอความช่วยเหลือน้ำท่วม 1102
• กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) สายด่วนนิรภัย ได้ตลอด 24 ชั่วโมง 1784
• กรมชลประทาน (กรมชลฯ) สายด่วน สอบถามสถานการณ์น้ำ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง 1460
• ตำรวจทางหลวง สอบถามเส้นทางน้ำท่วม ได้ตลอด 24 ชั่วโมง 1193
• ศปภ.ศูนย์ปฎิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ดอนเมือง แจ้งข่าวด่วน 1111 กด 5 หรือ 087-5441683
• สายด่วน กรมทางหลวง ได้ตลอด 24 ชั่วโมง 1586
• ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม 1356
• ศูนย์ความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท 1146
• หน่วยแพทย์ฉุกเฉิน สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง 1669
• การรถไฟแห่งประเทศไทย 1690
• การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 1129
• ท่าอากาศยานไทย 02-535-1111
• การรถไฟแห่งประเทศไทย 1690
• บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) 1490
• ศูนย์ประสานงานภัยพิบัติ ประกอบด้วย รับแจ้งเหตุ 03-5335-5210
• ศูนย์ความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท 1146
• ไฟฟ้าขัดข้อง/เคลื่อนย้ายปลั๊กไฟฟ้า และศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 1 ปทุมธานี 081 701 4858 และ 081 825 1343
• กรมสุขภาพจิต ได้ตลอด 24 ชั่วโมง 1323

• ศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำ 0-2243-6956
• สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ลพบุรี 0-3641-4480-1 , 0-3641-1936
• สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.พิษณุโลก 0-5523-0537-8 , 0-5523-0394
• สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.พระนครศรีอยุธยา 0-3533-5798 , 0-3533-5803
• การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จ.พระนครศรีอยุธยา 035 – 241-612
• สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ตาก 0-5551-5975
• สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สิงห์บุรี 0-3652-0041
• สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.อ่างทอง 0-3564-0022
• สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นครสวรรค์ 0-5625-6015
• สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นนทบุรี 0-2591-2471
• สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ปทุมธานี 0-2581-7119-21
• สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.พิจิตร 0-5661-5932
• สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นครนายก 0-3738-6209 , 0-3738-6484
• สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สุพรรณบุรี 0-3553-6066-71
• สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สระบุรี 0-3621-2238
• สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สุโขทัย 0-5561-2415
• การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดอุทัยธานี 0-5652-4461
• สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.อุตรดิตถ์ 0-5544-4132
• สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ลำปาง 0-5426-5072-4
• สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.เชียงใหม่ 0-5321-2626
• สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ลำพูน 0-5356-2963
• สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.อุบลราชธานี 0-4531-2692 , 0-4531-3003
• สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.เลย 0-4286-1579 , 0-4296-1581
• สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ชัยนาท 0-5641-2083
• ผู้เดือดร้อนจากน้ำท่วม กทม ปริมณฑลและภาคกลาง ติดต่อ ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพภาคที่ 1 02-281-5443
• ศูนย์อุทกวิทยาที่1จังหวัดเชียงใหม่ 053-248925, 053-262683
• ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองบิน 41 จ.เชียงใหม่ พร้อมช่วยเหลือประชาชน 053-202609
• ศูนย์เฉพาะกิจป้องกันสัตว์อันตราย สวนสัตว์เชียงใหม่ แจ้งจับ 053-222-479
• สนง.ชลประทานจังหวัดสมุทรสาคร 034-881175, 034-839037 ต่อ 11
• สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.น่าน 054-741061
• ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยของกองทัพไทยที่ ต.แงง อ.ปัว จ.น่าน 054-792433
• ศูนย์อํานวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม จ.น่าน ณ ศาลากลางจังหวัด 054-710-232
• สายด่วน ปภ. (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) 1784
• สายด่วน กรมชลประทาน 1460 หรือ 02 669 2560
• ผู้ประสบภัยทางภาคใต้ สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ที่ กองทัพภาคที่ 4 075 -383405,075-383253
• แจ้งขอความช่วยเหลือและปัญหาน้ำท่วม ได้ที่ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยไทยพีบีเอส 02-791-1113 หรือ 02-791-1385-7
• ศูนย์ประสานงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม โรงเรียนเทศบาล1 ตลาดเก่า จ.กระบี่ 0-7566-3183
• เทศบาลนครนครศรีธรรมราช 199, 075-348-118, 075-342-880-3
• ศูนย์อำนวยการป้องกันสาธารณภัย นครศรีธรรมราช 075 358 440-4
• รพ. เทศบาลนครนครศรีฯ หากต้องการความช่วยเหลือ 075 356 438 หรือ 075 356 014
• ม.วลัยลักษณ์ ตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม บริเวณอาคารกิจกรรมนักศึกษา 0 7567 4013 ต่อ 4013
• มูลนิธิประชาร่วมใจ นครศรีฯ พร้อมกู้ภัย 075 345 599
• มูลนิธิมหากุศลใต้เต็กเซี่ยงตึ๊ง ต้องการความช่วยเหลือ 075 343 602 ความถี่ 168.775MHz.
• ท่าอากาศยานไทย 02 535 1111
• บางกอกแอร์เวย์ส (Bangkok Airways) 1771
• นกแอร์ (Nok Air) 1318, 02900 9955
• นกแอร์ นครศรีธรรมราช 075 369 325
• นกแอร์ สุราษฎร์ธานี 077 441 275-6
• แอร์เอเชีย 02 515 9999
• การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 075-763-337 หรือ 1129
• การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดนครศรีธรรมราช 0 7535 6044
• การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอท่าศาลา 0 7552 1180
• การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอสิชล 0 7577-1666, 0 7577 1592
• การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสุราษฎร์ธานี 0 7727-2132
• การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอเกาะสมุย 0 7742 0995
• โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช 0 7534 0250
• ศูนย์ประสานงานช่วยเหลือ จ.สุราษฏร์ธานี "สภาองค์กรชุมชนเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย สุราษฏร์ธานี" ผู้ประสานงาน นายศุภวัฒน์ กล่อมวิเศษ 082-814-9381
• ศูนย์อำนวยการป้องกันสาธารณภัย จ. ชุมพร 077- 502-257 หรือ 077-503-230
• ศูนย์อำนวยการป้องกันสาธารณภัย จ.พัทลุง 074-620-300 และ 074-611-652
• สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ. สุราษฎร์ธานี 077-275-550-1
• สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ. กระบี่ 075-612- 639 หรือ 075-612-649 หรือ 075-612-735
• คปภ. นครศรีธรรมราช - ศูนย์รับแจ้งเหตุผู้ประสบภัยน้ำท่วม ด้านการประกันภัย 075-347322, 081-1748941

 ขอขอบคุณข้อมูลจาก ch7.com

กษ.แจกน้ำหมักบำบัดน้ำเน่า พรุ่งนี้

No Comments »

        นายพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า น้ำหมักชีวภาพ พด.6 ที่กรมพัฒนาที่ดินจัดเตรียมไว้ 2 ล้านลิตร จะส่งมอบศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย หรือ ศปภ. ในวันที่ 26 ตุลาคมนี้ จะจัดส่งเพิ่มเติม อีก 4 ล้านลิตร ภายในสิ้นเดือนนี้ เพื่อนำไปแจกจ่ายให้ประชาชน ในการใช้บำบัดน้ำเสียที่เกิดจากน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน
        สำหรับน้ำหมักชีวภาพ พด.6 เป็นน้ำหมักที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าปกติ โดยใช้เวลาหมัก 3 วัน เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน และกรมวิชาการเกษตร จะร่วมกันตรวจสอบเพื่อให้มีคุณสมบัติครบถ้วน สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ที่ก่อให้เกิดการเน่าเหม็น และขจัดกลิ่นเหม็นได้
        ผู้ประสงค์น้ำหมักชีวภาพ พด.6 สามารถติดต่อขอรับได้ที่สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัด ทั่วประเทศ

อิมแพ็คเลื่อนกำหนดการนำรถออกจากวันที่28ต.ค.เป็น4พ.ย.

No Comments »

 RT: @IMPACTVenue: อิมแพ็คเลื่อนกำหนดการนำรถออกจากวันที่28ต.ค.เป็น4พ.ย.(08.00-12.00น.)ผู้ที่จะนำรถออกวันที่28ต.ค.ให้มาเวลา12.00-18.00น.สอบถามโทร. 0-2833-5777-8  twitter.com/IMPACTVenue

กปน. แจงน้ำประปามีสีเหลือง

No Comments »

สำหรับ คุณภาพน้ำประปาในขณะนี้ได้รับการร้องเรียนจากประชาชนว่ามีสีเหลืองนั้น เกิดจากคุณภาพน้ำดิบที่ด้อยคุณภาพลงอย่างที่ทราบกันอยู่ แต่อย่างไรก็ตาม ยังยืนยันว่าอยู่ในมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก ซึ่ง กปน. จะได้แก้ปัญหาโดยเตรียมเพิ่มการใช้ด่างทับทิมในกระบวนการผลิต เพื่อช่วยในการกำจัดสารอินทรีย์ที่อยู่ในน้ำ อันเป็นสาเหตุให้เกิดสี และกลิ่นในน้ำประปาแล้ว ซึ่งคาดว่าจะดีขึ้นในไม่ช้านี้  


http://www.mwa.co.th/2010/ewt/mwa_internet/ewt_news.php?nid=5329&filename=index_design03

ป้องกันการเสียผลประโยชน์จากสำเนาบัตรประชนชน

No Comments »

RT: @Thairath_News: ศธ.แจ้งแจกอิฐบล็อก-ปูนช่วยน้ำท่วมฟรีที่ศธ.ถนนราชดำเนิน โดยใช้หลักฐานบัตรประชาชนและสำเนา สอบถามเพิ่มเติมโทร1579    //

ใครจะนำสำเนาบัตรประชนชนไปติดต่ออะไรต้องเขียนไว้ให้ชัดเจนใต้คำว่าสำเนาถูกต้องให้ชัดเจนว่านำไปใช้เพื่อxxxเท่านั้น และลงวันที่ไว้ให้ชัดเจนด้วย เพื่อป้องกันการเสียผลประโยชน์


ตัวอย่างจากบล็อก  http://banyen24.exteen.com

วิธีป้องกันภัยที่ไม่คาดคิด ในการใช้สำเนาบัตรประชาชน
เดี๋ยว จะหาว่าผมไม่ทันสมัยในยุคนี้ต้องขอบอกว่าไป ที่ไหน ๆ ต้องได้ยินได้ฟังกันทั่วถึงทุกหัวระแหง เกี่ยวกับองค์ จตุคามรามเทพ เท่าที่รู้มาออกมาหลากหลายรุ่นจนแทบ ตามไม่ทัน เพราะจำนวนที่ออกไม่เพียงพอต่อความต้องการของ กระแสนิยม ขนาดต้องออกหนังสือจองกันล่วงหน้าก่อน เป็นหลายวัน หากใครไม่ลงชื่อในใบจองไว้ก่อนจำต้องพลาด ที่จะได้ไว้บูชา หรือครอบครอง ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นหากมีความ ประสงค์จะจองต้องถ่ายเอก สารสำเนาบัตรประจำตัวประชา ชนที่มีเลขประจำตัว 13 หลักมาแนบเรื่องจองด้วย หลายคน เห็นว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์และราคาไม่สูงนัก เหมาะแก่ภาวะยุค เศรษฐกิจปัจจุบันเลยแห่มาจองกันเพียบ เรื่องที่ไม่คาดคิดก็เกิด จนได้ เมื่อเป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ว่า ถึงวันมารับของที่ จองไว้ไม่เป็นที่ต้องตามความประสงค์ของผู้ที่จองไว้
ท่าม กลางกระแสการเมืองที่ร้อนแรง โดยหวังใช้จตุ คามฯ ดึงแนวร่วมเพื่อหวังผลทางการเมือง และกระแสการ สร้าง - การเปิดบูชาจตุคามรุ่นนี้ถูกสกัด โดยในช่วงสายวันที่ 30 พ.ค. มีรายงานข่าวว่าแกนนำกลุ่มที่ดำเนินการสร้างจตุคามรุ่น 1 บาทปราบกบฏ อ้างว่าถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจสกัดกั้น ทำให้ไม่ สามารถนำมามอบให้กับผู้ที่จองไว้ล่วงหน้าได้ คิดดูก็แล้วกัน ครับ คนที่จองไว้เป็นแสนคน มารอรับที่ท้องสนามหลวง แต่ไม่ได้ของ อะไรจะเกิดขึ้น ที่สำคัญในวันดังกล่าวที่บริเวณ ศาลรัฐธรรมนูญ ในวันนั้นเป็นวันตัดสินคดีประวัติศาศตร์คดี ใหม่ทางการเมืองไทย "ยุบหรือไม่ยุบ" 5 พรรคการเมือง ซึ่ง ถึง วันนี้ก็เป็นที่ชี้ชัดไปแล้วว่าใครผิดใครถูก ตามที่ตุลาการ รัฐธรรมนูญท่านวินิจฉัย
เรื่อง มันไม่จบแค่นี้ ปรากฏว่าแหล่ง ข่าวที่น่าเชื่อถือ ได้ รายงานมาว่า การจัดสร้างและแจกจ่ายจตุคามรุ่นนี้ไม่เพียง มุ่งจูงใจให้ประชาชนเดินทางมาที่สนามหลวงกันมาก ๆ แต่ยัง มีจุดที่น่าสังเกตที่ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องค่าเช่าบูชาเพียงแค่ 1 บาท เท่านั้น คือมีการล่ารายชื่อให้ผู้ที่อยากได้เซ็นชื่อ-แจ้งเลขที่ บัตรประจำตัว 13 หลัก ซึ่งอาจจะนำไปใช้ในทางการเมือง หรือ ใช้กดดันบุคคลสำคัญ
ฟัง แล้วรู้สึกหนาว ๆ ไปตาม ๆ กัน สำหรับคนที่จอง และลงชื่อไว้ เพราะนอกจากไม่ได้รับจตุคามตามที่ประสงค์ ดันเป็นเหยื่อของผู้ไม่หวังดีนำรายชื่อที่เซ็นไว้พร้อมหลักฐาน แนบ ที่ให้ไว้ไปทำเรื่องเดือดร้อนจนได้
ฟัง ถึงตรงนี้ก็ให้ฉุกคิดขึ้นได้ว่าในฐานะที่เป็นคอ ลัมน์ นิตส์ที่เกี่ยวกับเรื่องรู้ไว้ใช่ว่า จึงขอบอกว่าเวลาเซ็นรับรองสำ เนาถูกต้องในเอกสารที่ถ่ายสำเนา เช่นบัตรประจำตัวประชาชน ควรระมัดระวังไว้ด้วย เผื่อผู้ไม่หวังดีเอาไปใช้ในวัตถุประ สงค์ อื่น โดยมีวิธีป้องกันดังนี้ครับ
ใน การมอบสำเนาบัตรประจำตัวประชานชนให้แก่ บุคคลอื่นทุกครั้ง ผู้ถือบัตรฯ ควรขีดคร่อมลงในภาพถ่าย บริเวณที่เป็นส่วนใบหน้าของผู้ถือบัตรฯ โดยขีดคร่อมใน ลักษณะเป็นส้นขนานหรือรางรถไฟ โดยเว้นช่องไว้ตรง กลางและเขียนหรือพิมพ์ระบุให้ชัดเจว่า ผู้ถือบัตรฯ ประสงค์จะ ให้นำสำเนาบัตรฯ นี้ไปใช้ในกิจการใด เช่น เขียนว่า "เพื่อนำ ไปใช้ในการสมัครงานกับบริษัท...... เท่านั้น" นอกจากนี้ผู้ถือ บัตรฯ ยังควรต้องลงลายมือชื่อกำกับการเขียนดังกล่าวไว้ข้าง ล่างใกล้เส้นขนานดังกล่าว เช่น บริเวณต้นคอของภาพถ่ายด้วย
เหตุ ที่ต้องเขียนหรือพิมพ์และลงลายมือชื่อกำกับบริ เวณดังกล่าวก็เพื่อป้องกันไม่ให้มิจฉาชีพลบข้อความและลาย มือชื่อที่เขียนไว้ เพราะหากมีการลบ จะทำให้บริเวณภาพ ใบหน้าของผู้ถือบัตรฯ เป็นรอยและเปลี่ยนแปลงไป และลาย มือ ชื่อที่ทำปลอมขึ้นด้านล่างของสำเนาบัตรฯ จะดูไม่เหมือน กับลายมือชื่อที่แท้จริงของผู้ถือบัตรที่ลงกำกับการขีดคร่อม ดังกล่าวอันจะส่งผลให้มิจฉาชีพไม่อาจนำสำเนาบัตรฯ ไปใช้โดยปราศจากความยินยอมของผู้ถือบัตรฯ
บาง ท่านอ่านมาถึงตรงนี้อาจสงสัยว่า หากเขียนหรือ พิมพ์และลงลายมือชื่อกำกับไว้ดังกล่าวจะทำให้สำเนาบัตรประชา ชนนั้นเสียไปหรือใช้ไม่ได้หรือไม่ ขอบอกว่า ผมได้ศึกษาจาก หนังสือที่อาจารย์ชูชัย งามวสุลักษณ์ นิติกร 8 (ชำนาญการ) สำนักบริหารทรัพย์กรมนุษย์ สำนักงานมหาวิทยาลัยจุฬาลง กรณ์มหาวิทยาลัย เขียนไว้ในหนังสือรู้กฎหมายง่ายนิดเดียว ว่าเอกสารนั้นยังคงใช้ได้ตามกฎหมายอย่างเดิม
เรื่อง ง่าย ๆ ใกล้ตัว หากเรารู้จักระมัดระวัง เราไม่ต้องมา นั่งกลุ้มใจและหวาดวิตกในภายหลังว่าคนอื่นจะนำสำเนาบัตรฯ ของเราไปใช้เพื่อการอื่น นอกเหนือจากวัตถุประสงค์ที่แท้จริง ของเราได้ พบกับสาระดี ๆ ในหลากเรื่อง รู้ไว้ใช่ว่าที่นี่ที่ เดียวครับ

เสวนา “วิกฤตน้ำท่วมและการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน” อีกหนึ่งกิจกรรมเชิงความรู้และความเข้าใจในงาน ART for Help

No Comments »

BANGKOK ART AND CULTURE CENTRE

อีกหนึ่งกิจกรรมเชิงความรู้และความเข้าใจในงาน ART for Help ในวันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม 2554 เวลา 10.00 – 12.00 น. ห้องอเนกประสงค์ชั้น 1

เสวนา “วิกฤตน้ำท่วมและการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน”
อีกหนึ่งกิจกรรมเชิงความรู้และความเข้าใจในงาน ART for Help

วันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม 2554
เวลา 10.00 – 12.00 น.
ห้องอเนกประสงค์ชั้น 1
(และออกอากาศสด รายการเสาร์เสวนา คลื่น 96.5FM)

ผู้ร่วมเสวนา
รศ. ชูเกียรติ ทรัพย์ไพศาล – ทรัพยากรน้ำทั้งระบบของประเทศไทยและนโยบายสาธารณะ

ดร.วีรพันธุ์ ชินวัตร – มุมมองการแก้ปัญหาระยะยาว ด้วยการอยู่กับน้ำผ่านระบบผังเมือง ถนน และแก้มลิง

คุณภราเดช พยัฆวิเชียร – การจัดการในยามวิกฤต (crisis management)

วิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์ – ผู้ดำเนินรายการ

BANGKOK ART AND CULTURE CENTRE

No Comments »

BANGKOK ART AND CULTURE CENTRE

“ศิลปะในรัชกาลที่ 9 : ไทยเท่...จากท้องถิ่นถึงอินเตอร์”

วัน : 1 ธันวาคม 2554 – 5 กุมภาพันธ์ 2555
สถานที่ : ทุกพื้นที่ในหอศิลปฯ ยกเว้นห้องนิทรรศการชั้น 8

ภัณฑารักษ์
: ศ.ดร.อภินันท์ โปษยานนท์

วัตถุประสงค์
1. เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในโอกาสทรงมีพระชนมายุ 84 พรรษา
2 เพื่อเผยแพร่พระปรีชาสามารถด้านผลงานด้านจิตรกรรม
3. เพื่อเผยแพร่ผลงานอันโดดเด่นของศิลปิน โดยเฉพาะในช่วงเวลาแห่งการครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช


แนวคิดของนิทรรศการ
เล่าเรื่องผลงานศิลปะที่โดดเด่นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2489 – ปัจจุบัน)
ชั้น 1 : เล่าเรื่องเส้นทางเดินของศิลปะแห่งรัชกาลที่ 9 ตามลำดับเวลา เหตุการณ์สำคัญ องค์กรผู้ให้การสนับสนุนวงการศิลปะทั้งภาครัฐและเอกชน การกำเนิดหอศิลปฯ และแสดงดัชนีศิลปิน


ผนังโค้งชั้น 3-4 : ผลงานศิลปะที่ศิลปิน นำภาพ “คน” เป็นตัวนำเสนอแทนเหตุการณ์และอารมณ์ โดยมีศิลปิน อาทิ ชาติชาย ปุยเปีย, วราวุธ ชูแสงทอง, ศักดิ์วุฒิ วิเศษมณี, ลำพู กันเสนาะ,


ห้องสตูดิโอชั้น 4 : ศิลปะที่สะท้อนเนื้อหาในสังคม เหตุการณ์ทางการเมือง เช่นเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516, 6 ตุลาคม 2519 โดยมีศิลปิน เช่น ประเทือง เอมเจริญ, ลาวัลย์ อุปอินทร์, ธรรมศักดิ์ บุญเชิด, มานิตย์ ศรีวานิชภูมิ


ชั้น 5 : เสนอศิลปะร่วมสมัย เช่น ศิลปะหอพุทธรัตน์, จิตรกรรมฝาผนังพุทธประทีป


ชั้น 7 : จัดแสดง เป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย
1. จิตรกรรมฝีพระหัตถ์ และศิลปินยุคต้นรัชสมัย (พิริยะ ไกรฤกษ์, สมโภชน์ อุปอินทร์, เฉลิม นาคีรักษ์)
2. ศิลปะไทยร่วมสมัย มีศิลปิน เช่น ชลูด นิ่มเสมอ, ดำรง วงษ์อุปราช, ทวี นันทขว้าง, ถวัลย์ ดัชนี, ช่วง มูลพินิจ
3. พุทธศิลป์ เช่น ปัญญา วิจินธนสาร, เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์, มณเฑียร บุญมา, อนุพงษ์ จันทร


ชั้น 9 : จัดแสดง เป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย
1. ศิลปะนามธรรม เช่น ชำเรือง วิเชียรเขตต์, นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน, พิษณุ ศุภนิมิตร, เดชา วราชุน
2. ศิลปินไทยสู่สากลที่มีผลงานสร้างชื่อเสียงในต่างแดน เช่น กมล ทัศนาญชลี, มณเฑียร บุญมา,สมบูรณ์ หอมเทียนทอง,คามิน เลิศชัยประเสริฐ
3. กลุ่มศิลปินหญิง เช่น อารยา ราษฎร์จำเริญสุข, ลักษมี ตั้งโฉลก, กัญญา เจริญศุภกุล,พิณรี สัณพิทักษ์

ELLE Thailand : 14 - 17 Oct : ELLE Fashion Week 2010 Autumn/Winter at CentralWorld

No Comments »

11 - 16 Oct : ELLE Fashion Week 2011 Autumn/Winter at CentralWorld

Date: 11 - 16 ตุลาคม 2554
Place: CentralWorld Square B

:::::::::::::: SCHEDULE ::::::::::::::

11 October 2011

7.00 PM. DISAYA
8.30 PM. HOOK’S

12 October 2011

5.00 PM. SFG SHOES FASHION WEEK
8.30 PM. THEATRE

13 October 2011

7.00 PM. W HOTELS FASHION NEXT PRESENTS CURATED BY EK THONGPRASERT
8.30 PM. 27 FRIDAY

14 October 2011

8.00 PM. KAI
9.00 PM. SANSHAI BY KERATINOLOGY

15 October 2011

3.00 PM. THE CONTEMPORARIST BY OCAC
4.30 PM. THEODDYSSEE
6.00 PM. 4X4 MAN
7.30 PM. NAGARA
9.00 PM. SENADA

16 October 2011

3.00 PM. DESIGNERS’ ROOM : NOW BY DEP
4.30 PM. MILIN
6.00 PM. VATIT ITTHI
7.30 PM. ZENITHORIAL
9.00 PM. KLOSET RED CARPET

TCDC (Thailand Creative & Design Center)

No Comments »

TCDC (Thailand Creative & Design Center)

"เทศกาล รัก สร้างสรรค์ สยาม"

07/09/2011

มิวเซียมสยาม ขอเชิญร่วมงาน “เทศกาล รัก สร้างสรรค์ สยาม” วันเสาร์และอาทิตย์ที่ 17-18 กันยายน 2554 เวลา 14.00 – 20.00 น. โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ภายในงานแบ่งเป็น 3 โซน คือ
1. Muse Exhibition มาร่วมกันค้นหาคำตอบ ว่ารักแท้นั้นเป็นอย่างไร ผ่านการจัดแสดงนิทรรศการภาพถ่าย ” รักแบบไหน...สร้างสรรค์สยาม ” โดยมีกลุ่มสห+ภาพ นำโดยศิลปินแห่งชาติ คุณวรนันทน์ ชัชวาลทิพากร และ คุณจิระนันท์ พิตรปรีชา ที่ปรึกษาสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ และประธานกลุ่มสห+ภาพ ร่วมกับช่างภาพชื่อดัง ดาราและศิลปินนักร้องวัยรุ่นที่มีชื่อเสียง นำเสนอภาพถ่ายมุมมองความรักที่สร้างสรรค์สังคมไทยในทุกรูปแบบ

2. Muse Show & Share พื้นที่สร้างสรรค์การเรียนรู้ให้กับทุกคนที่มีความรักความสนใจในเรื่องต่างๆ ทั้งที่เป็นแหล่งเรียนรู้ หรือสามารถพัฒนาจัดทำเป็นแหล่งเรียนรู้ได้ในอนาคต และบุคคลต่างๆ ที่น่าสนใจได้มาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน อาทิ พิพิธภัณฑ์ด้านภูมิปัญญาไทย, นักสะสมจักรยานล้อโต, นักพับกระดาษ, นักโหราศาสตร์, กลุ่มเครื่องประดับ, กลุ่ม More Mood Decoupage เป็นต้น พิเศษคือการจัดแสดงของสะสมหาชมยาก หรือมีราคาสูง อาทิ แสตมป์สะสมเฉลิมพระเกียรติชุด “สิ่งสะสมล้ำค่า ดวงตราในดวงใจ” จากกรมไปรษณีย์ไทย ชุดที่น่าสนใจ เช่น แสตมป์ที่ทำจากเมล็ดข้าว, คริสตัล, แสตมป์ที่ทำเป็นรูป 3 มิติ หรือปั้มลายเงิน ทอง นาค, การจัดแสดง “พระรอด” กรุวัดมหาวัน จ.ลำพูน หนึ่งในชุดเบญจภาคี อายุกว่า 1,200 ปี องค์เดียวในประเทศไทยที่ยังมีสภาพสมบูรณ์ มูลค่ากว่า 10 ล้านบาท จากสถาบันอนุรักษ์พระเครื่องพระบูชาไทย, พบของสะสมที่เริ่มต้นจากความรักของคนรุ่นใหม่ “เงินพดด้วงในยุคสมัยต่างๆ ของไทย” และ “เงินไพสมัยอยุธยา” ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าหัวไม้ขีดไฟ มีตราประทับเป็นรูปหอยสังข์ และการแสดงจักรยานล้อโต ของโบราณที่หาชมได้ยาก ซึ่งจะมาสาธิตขี่โชว์ให้ดูกันภายในงาน ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีการออกบูธจำหน่ายสินค้า DIY ที่เลื่องชื่อ ของนักศึกษาจาก มหาวิทยาลัยศิลปากร ท่าพระจันทร์

3. Muse on stage กิจกรรมการแสดงออกทางความรักในเชิงสร้างสรรค์ เพื่อแบ่งปันให้แก่สังคมไทย อาทิ การแสดงบนเวทีจากโครงการ 7 สีปันรักให้โลก และพลาดไม่ได้กับการแสดงคอนเสิร์ตจากวง Friday, ลุลา, Jetset’er, ละอองฟอง, Zani and The Missing Piece, Greasy Café, ปอย Portrait, วงฮัม ฯลฯ ซึ่งจะมาแสดงดนตรี ร่วมกับองค์กรสร้างสรรค์สังคมต่างๆ เช่น มูลนิธิเพื่อนหญิง, โครงการเพื่อนข้างถนน ฯลฯ รวมทั้งมีการแสดงจากกลุ่มเยาวชน อาทิ การเต้น Cover K-Pop, J-Pop, วงดนตรี TK Band เป็นต้น

พิเศษ 50 คู่แรกที่มาลงทะเบียนหน้างานในแต่ละวัน จะได้รับ “ เข็มกลัดคู่ ” เป็นของที่ระลึกด้วย

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 02-2252777 หรือ www.facebook.com/museumsiamfan และ www.museumsiam.com

ชูคืนหนังสือโรงเรียนเกิด ดีกว่าแจก แท็บเล็ต Tablet

No Comments »

ชูคืนหนังสือโรงเรียนเกิด ดีกว่าแจก แท็บเล็ต Tablet
"วรากรณ์" ชูโครงการคืนหนังสือดีกลับโรงเรียนบ้านเกิดคนละเล่ม สร้างนิสัยรักอ่านเด็กรุ่นใหม่ แนะรัฐซื้อหนังสือดีอ่านง่ายแจกดีกว่าละเลงงบหมื่นล้านซื้อแท็บเล็ต ไม่เห็นด้วย ถ้า ศธ.จะปรับลดงบห้องสมุดมาทำห้องสมุด E-book แทน ชี้เด็กชนบท-คนนอกระบบการศึกษายังไม่เข้าถึงอินเทอร์เน็ต "นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์ฯ" ยันห้องสมุดแบบหนังสือยังจำเป็น ใคร ๆ ก็ใช้ได้

รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวว่า หากจะทำให้เด็กมีนิสัยรักการอ่านได้จะพึ่งแต่วาระการอ่านแห่งชาติของภาครัฐอย่างเดียวไม่ได้ จึง อยากให้ทุกฝ่ายมาช่วยกันทำโครงการส่งคืนหนังสือดีกลับโรงเรียนบ้านเกิดคนละ 1 เล่ม โดยเฉพาะโรงเรียนในชนบทที่ขาดแคลนหนังสือดี จะส่งผลให้เด็กในโรงเรียนได้รับประโยชน์ อาจเริ่มจากศิษย์เก่า หากศิษย์เก่า 100 คนในโรงเรียนได้ทำตามโครงการดังกล่าว ห้องสมุดของโรงเรียนในชนบทจะมีแต่หนังสือดี 100 เล่ม สร้างนิสัยรักการอ่านให้เด็กรุ่นใหม่ต่อไป

"ผม ได้แนวคิดดังกล่าวมาจากวิถีชีวิตของปลาทู ออกไปเติบโตข้างนอก แต่เวลาวางไข่ก็กลับมาวางในที่เกิด น่าแปลกว่ามันจำได้อย่างไร อยากให้ภาครัฐทำโครงการจัดซื้อหนังสือดีที่อ่านง่ายแจกนักเรียน อาจใช้งบไม่กี่พันล้านบาท เพื่อสร้างนิสัยรักการอ่านให้เด็กที่เป็นอนาคตชาติ หากเราเดินถูกทางแล้วจะเป็นประโยชน์ไปชั่วอายุคน ดีกว่าเอางบหมื่นล้านมาซื้อแท็บเล็ตอีก" อธิการบดี ม.ธุรกิจบัณฑิตย์กล่าว

พร้อมกันนี้ รศ.ดร.วรากรณ์ ยังกล่าวว่า ตนไม่เห็นด้วยกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ที่จะปรับลดงบห้องสมุดแบบหนังสือแล้วมาพัฒนาเป็นห้องสมุดแบบ E-book แทน เพราะมองว่าห้องสมุดที่เป็นหนังสือ ยังมีความสำคัญอยู่ จะตอบโจทย์สำหรับเด็กต่างจังหวัดและประชาชนนอกระบบการศึกษาที่เข้าไม่ถึง ระบบอินเทอร์เน็ต ได้ค้นคว้าหาความรู้จากหนังสือ

นายวรพันธ์ โลกิตสถาพร นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และจำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ห้องสมุดแบบหนังสือยังเป็นสิ่งที่จำเป็น ถึงแม้จะเห็นด้วยที่ภาครัฐนำเทคโนโลยีมาพัฒนาห้องสมุดเป็นแบบ E-book อย่างไรก็ตาม มองว่าห้องสมุดต้องเป็นแหล่งความรู้ที่ทุกคนเข้าถึงได้ ทั้งคนที่อยู่ในการศึกษาและนอกการศึกษา แต่หากเป็นห้องสมุดแบบ E-book จะเกิดประโยชน์แค่คนบางกลุ่ม และที่สำคัญห้องสมุดดังกล่าวก็ยังทำไม่สำเร็จเลย

พบนวัตกรรมช่วยเด็กไทยพ้นผอม-เตี้ย-อ้วน-โง่ - โพสต์ทูเดย์ ข่าวสังคม

No Comments »

พบนวัตกรรมช่วยเด็กไทยพ้นผอม-เตี้ย-อ้วน-โง่ - โพสต์ทูเดย์ ข่าวสังคม

คิวแรก UNIQLO - Positioning Magazine

No Comments »

คิวแรก UNIQLO - Positioning Magazine

เขาค้อทะเลภู เก็บนํ้าจากฟ้าใส่ขวดขาย - Positioning Magazine

No Comments »

เขาค้อทะเลภู เก็บนํ้าจากฟ้าใส่ขวดขาย - Positioning Magazine

bkk09LIVE: น้ำท่วม

No Comments »

bkk09LIVE: น้ำท่วม: เกาะติดสถานการณ์อุทกภัยทางภาคเหนือได้ที่ bkk09 | twitter

เทศกาลปล่อยแสง 100: ร้อยต้นคิด 100 ผลผลิตสร้างสรรค์ (Creative Showcase)

No Comments »

When02 February - 13 March 2011 | 10:30-21:00
Whereห้องนิทรรศการ 2 TCDC

เมื่อ 100 หัวหอกแห่งแวดวงคนสร้างสรรค์ ร่วมเผยที่มาของแรงบันดาลใจจากผลิตภัณฑ์ไทยแท้ 100 ชิ้น ชนวนเด็ดที่พร้อมจุดติดไอเดียยอดฮิตซึ่งส่งให้พวกเขากลายเป็นไอดอลของสังคม
ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ขอเชิญทุกท่านร่วมสำรวจกระบวนคิด แกะรอยวิธีการแสวงหาแรงบันดาลใจ และพินิจโลกผ่านมุมมองใหม่ไปกับเหล่านักสร้างแรงบันดาลใจทั้ง 100 ชีวิต ในงาน “เทศกาลปล่อยแสง 100: ร้อยต้นคิด 100 ผลผลิตสร้างสรรค์” กิจกรรมการจัดแสดงผลงานครั้งยิ่งใหญ่ที่รวบรวม 100 สุดยอดผลงานฝีมือไทยที่สร้างแรงบันดาลใจให้แก่คนต้นคิดในทุกแวดวงอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไว้มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ พร้อมนำเสนอวิธีคิด (Inspiration) กระบวนการผลิต (Practical process) และจุดขาย (Attraction) ของผลงานแต่ละชิ้นที่จะปลุกพลังความคิดสร้างสรรค์ในตัวคุณ
มาร่วมเก็บเกี่ยวแรงบันดาลใจจากผลผลิตไทยไอเดียเยี่ยมนับ ‘100’ ที่ผ่านการคัดสรรจาก ‘ร้อย’ คนต้นคิดมืออาชีพ อาทิ
  • สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์ – เจ้าของนามปากกา “นิ้วกลม” ครีเอทีฟและผู้กำกับโฆษณา / นักเขียนเจ้าของผลงานพ็อกเก็ตบุ๊กชื่อดังมากมาย
  • เจตมนต์ มละโยธา – นักดนตรีฝีมือดีอดีตสมาชิกวงพราว และศิลปินเดี่ยวในชื่อเพนกวินวิลล่า หนึ่งในผู้ก่อตั้งค่ายเพลงอินดี้ “สมอลล์รูม”
  • โตมร สุขปรีชา – คอลัมน์นิสต์ นักเขียน นักแปลมืออาชีพ และบรรณาธิการบริหารนิตยสาร GM
  • ธนชัย อุชชิน – ผู้ร่วมก่อตั้งและนักร้องนำวงโมเดิร์นด็อก หนึ่งในวงที่บุกเบิกแนวดนตรีอัลเทอร์เนทีฟในประเทศไทย
  • เพชร โอสถานุเคราะห์ – นักร้อง/นักดนตรีผู้มีผลงานเพลงเป็นที่รู้จักในระดับตำนาน ปัจจุบันเป็นอาจารย์และกรรมการสภามหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  • จิระ มะลิกุล – “พี่เก้ง จีทีเอช” นักเขียนบท ผู้กำกับ และโปรดิวเซอร์ภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จทั้งด้านคำวิจารณ์และรายได้
  • วิศุทธิ์ พรนิมิตร – นักวาดการ์ตูนเจ้าของผลงานเรื่อง hesheit ที่โดดเด่นด้านการนำเสนอแนวคิดและองค์ประกอบจนโด่งดังไกลถึงประเทศญี่ปุ่น
  • สุทธิศักดิ์ สุจริตตานนท์ – นักสร้างสรรค์โฆษณามือหนึ่งของเอเชีย และติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก ผู้พิชิตรางวัลโฆษณาระดับโลกจากเมืองคานส์มาแล้วหลายรางวัล
  • วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ – นักเขียน / กรรมการผู้จัดการบริษัท เดย์ โพเอทส์ จำกัด และบรรณาธิการอำนวยการนิตยสาร a day
  • ศุ บุญเลี้ยง – นักดนตรี นักแสดง ศิลปิน นักเขียน เจ้าของธุรกิจร้านอิ่มอุ่น และอดีตสมาชิกวงเฉลียง ผู้สร้างตำนานตัวโน้ตอารมณ์ดีของไทย
  • ประภาส ชลศรานนท์ – นักคิด นักเขียน นักแต่งเพลง และผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน)
  • ตัน ภาสกรนที – ผู้ก่อตั้งบริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ปัจจุบันเปิดบริษัทใหม่ชื่อ ตันไม่ตัน จำกัด ที่มุ่งมั่นแบ่งสรรเงินได้จากธุรกิจเพื่อกระจายสู่สังคม
  • พิมพ์ดาว สุขะหุต – แฟชั่นดีไซเนอร์เจ้าของแบรนด์เสื้อผ้าและเครื่องประดับ Sretsis ที่มีวางจำหน่ายให้เหล่าแฟชั่นนิสต้าในกว่า 30 ร้านทั่วโลก
  • วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ – บรรณาธิการบริหารนิตยสารคุณภาพสารคดี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ ThaiPBS หรือ “ทีวีไทย”
  • หนุ่มเมืองจันท์ – นักเขียนฝีปาก(กา)เฉียบคมในวงการเมืองและธุรกิจ คอลัมนิสต์ประจำคอลัมน์ “ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ” ในมติชนสุดสัปดาห์
  • ต่อ สันติสิริ – นักสร้างสรรค์โฆษณามือทองของไทยตั้งแต่ยุคบุกเบิก ปัจจุบันเป็นประธานกรรมการและผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ให้กับเอเจนซี่โฆษณาชื่อดัง TBWA\Thailand
  • ปุณลาภ ปุณโณทก – อดีตนักออกแบบหัวหอกแห่ง Propaganda ที่ปัจจุบันหันมาเป็นผู้อำนวยการฝ่ายออกแบบให้กับ PBB&O และคัลเลอร์ ปาร์ตี้ จำกัด ดีไซน์เฟิร์มสุดเจ๋งอีกแห่งของไทย


*รายชื่อ 16 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทย
1. สาขาโฆษณา
2. สาขาสถาปัตยกรรม
3. สาขาศิลปะและวัตถุโบราณ
4. สาขาแอนิเมชั่น
5. สาขาหัตถกรรม
6. สาขาออกแบบ
7. สาขาแฟชั่น
8. สาขาภาพยนตร์และภาพถ่าย
9. สาขาเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์
10. สาขาดนตรี
11. สาขาศิลปะการแสดง
12. สาขาสิ่งพิมพ์
13. สาขาวิทยุและโทรทัศน์
14. สาขาการท่องเที่ยว
15. สาขาอาหาร
16. สาขาการแพทย์แผนไทย
ไม่เสียค่าใช้จ่าย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ TCDC โทร. 02 664 8448

เทศกาลปล่อยแสง 100: ร้อยต้นคิด 100 ผลผลิตสร้างสรรค์

No Comments »

2 กุมภาพันธ์ – 13 มีนาคม 2554

10:30 – 21:00
สถานที่ ห้องนิทรรศการ 2 TCDC

เมื่อ 100 หัวหอกแห่งแวดวงคนสร้างสรรค์ ร่วมเผยที่มาของแรงบันดาลใจจากผลิตภัณฑ์ไทยแท้ 100 ชิ้น ชนวนเด็ดที่พร้อมจุดติดไอเดียยอดฮิตซึ่งส่งให้พวกเขากลายเป็นไอดอลของสังคม



ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ขอเชิญทุกท่านร่วมสำรวจกระบวนคิด แกะรอยวิธีการแสวงหาแรงบันดาลใจ และพินิจโลกผ่านมุมมองใหม่ไปกับเหล่านักสร้างแรงบันดาลใจทั้ง 100 ชีวิต ในงาน “เทศกาลปล่อยแสง 100: ร้อยต้นคิด 100 ผลผลิตสร้างสรรค์” กิจกรรมการจัดแสดงผลงานครั้งยิ่งใหญ่ที่รวบรวม 100 สุดยอดผลงานฝีมือไทยที่สร้างแรงบันดาลใจให้แก่คนต้นคิดในทุกแวดวงอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไว้มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ พร้อมนำเสนอวิธีคิด (Inspiration) กระบวนการผลิต (Practical process) และจุดขาย (Attraction) ของผลงานแต่ละชิ้นที่จะปลุกพลังความคิดสร้างสรรค์ในตัวคุณ


มาร่วมเก็บเกี่ยวแรงบันดาลใจจากผลผลิตไทยไอเดียเยี่ยมนับ ‘100’ ที่.......(อ่านต่อ)

BK Magazine Readers' Choice Awards 2011 (ENV.)

No Comments »

By BK staff


published Jan 27, 2011










Selecting the winners for Reader’s Choice Awards is really, really simple. Readers vote online, we count the votes, we publish the results. And yet, we’re constantly approached by skeptics who ask if we fudged things this way or that. What can we say? This year, we did our drinking mainly at WTF and Soul Food—neither of which won a mention here. And that’s the point. This isn’t about BK’s writers, it’s about our readers. And here’s what they (you) thought were the best places to chill out, party on, feel great or just escape from it all.










Chill Out


Favorite Wine Store: Wine Connection


New category, new face, stunning win. With nearly three times as many votes as its closest rival (Central Wine Cellar), Wine Connection clinches the title.


Favorite Mall: CentralWorld


Maybe it’s post-protest sympathy, or B80 movies on Wednesdays, or the new ice-skating rink, but CentralWorld managed to stay fresh enough to keep its crown for another year.


Favorite Coffee Shop/Dessert place: Starbucks


Will you be terribly surprised if we tell you Starbucks won—again! (And by a long way.)


Favorite Phone: iPhone


Favorite Automobile: BMW


Favorite Credit Card: Citibank










Party On


Favorite Bar: Bed Supperclub


Bed wins comfortably. What’s interesting is how close Iron Fairies and Hyde & Seek came to runner-up Q Bar.


Favorite New Bar: Hyde & Seek


As you might have guessed from the above, Hyde & Seek wins by a narrow margin. Runners-up: Iron Fairies, Funky Villa, Fat Gutz. That’s two bars (Iron Fairies and Fat Gutz) in the top four from the same owner: Kudos to Ash Sutton.


Favorite Venue for Live music: Saxophone


Favorite Jazz bar: Saxophone


Why Saxophone suddenly plummeted in the charts last year, we’ll never understand. This year, they’re back at the top, pushing Brown Sugar to second place. In the Jazz Bar category, near identical results.


Favorite Venue for DJs: Bed Supperclub


It’s Bed again, with a comfortable lead over Q Bar.


Favorite Beer: Heineken


Heineken beats Singha. Then comes Hoegaarden and Asahi. My, how posh you guys are. Ever heard of Chang, Cheers and Leo?


Favorite Spirit: Absolut


Sweden’s Absolut gets more than twice as many votes as France’s Grey Goose. Sacre bleu!


Cutest Staff: Bed Supperclub


Most Overrated Bar: Bed Supperclub


Again, two sets of near-identical results with wins for Bed followed by Q Bar and Hyde & Seek. Which allows us to present you with this theory: can one equate having hot staff with being overrated? That would make BK Magazine very, very overrated.










Feel Great
Favorite Spa: Health Land


Clean and professional, the chain beats the five-star hotels thanks to its pocket-friendly prices.


Favorite Fitness Club: Fitness First


Fitness First barely beat True Fitness last year. What a difference a year makes. It’s a clear win for 2011, and California Wow is back from third place to runner-up. True is now a distant third.


Favorite Yoga/Pilates Studio: Absolute Yoga


Favorite Hospital: Bumrungrad


Favote Beauty Clinic: Romrawin Skin & Beauty Clinic










Get Away


Favorite Airline for Travel within Southeast Asia (domestic and regional): Air Asia


Air Asia wins yet again but there’s lot of change from year to year in the runner-ups. Bangkok Airways nearly clinched the title in 2010, but has toppled in the charts since. THAI, on the other-hand, makes a strong comeback, and was within five votes of a win!


Favorite Airline for Travel Outside Southeast Asia: THAI Airways


Favorite hotel (outside Bangkok): Let’s Sea


A lot of you voted for chains (in that sense, Sheraton is the combined winner), but when it comes to picking one individual property, Hua Hin’s Let’s Sea is still your top choice.










EATING OUT


Favorite New Restaurant: Hyde & Seek


Favorite Steak Place: New York Steak House


Favorite Buffet: JW Marriott (Marriott Cafe)


Favorite Sunday Brunch: Four Seasons


Most Overrated Restaurant: Sirocco


Favorite Western Restaurant: Sizzler


Favorite Restaurant: Fuji


Favorite Asian Restaurant: Fuji






From BK Magazine Website

BK Magazine Readers' Choice Awards 2011 (THV.)

No Comments »

รางวัลดังกล่าวได้รับเลือกมาจากผลการโหวตจากท่านผู้ชมออนไลน์ ซึ่งได้เลือกสุดยอดสถานที่ในหลายๆแขนงไว้ทั้ง สุดยอดสถานที่สำหรับ Chill Out หรือสำหรับไปปาร์ตี้สังสรรค์ หรือจะเป็นสถานที่ที่เราอยากจะอยู่เพื่อหลีกหนีจากความวุ่นวายทั้งหมด






Chill Out

สุดยอดร้าน Wine ที่ชื่นชอบ : Wine Connection ร้านไวน์หน้าใหม่ที่ได้รับเลือกไปด้วยคะแนนอย่างท่วมท้นเหนือคู่แข่งอย่าง Central Wine Cellar ถึง 3 เท่า

สุดยอดห้างสรรพสินค้าที่ชื่นชอบ : CentralWorld

สุดยอดร้านขนมหวานหรือร้านกาแฟที่ชื่นชอบ : Starbucks

สุดยอดอุปกรณ์สื่อสารที่ชื่นชอบ : iPhone

สุดยอดรถยนตร์ที่ชื่นชอบ : BMW

สุดยอดบัตรเครดิตที่ชื่นชอบ : CitiBank





Party On

สุดยอดบาร์ที่ชื่นชอบ : Bed Supperclub ซึ่งตามติดมาด้วยร้าน Iron Fairies และ Hyde & Seek

สุดยอดบาร์หน้าใหม่ที่ชื่นชอบ : Hyde & Seek ซึ่งตามติดมาด้วยร้าน Iron Fairies, Funky Villa, Fat Gutz

สุดยอดสถานที่พบปะสังสรรค์ฟังดนตรีสดที่ชื่นชอบ : Saxophone

สุดยอดบาร์แจ๊สที่ชื่นชอบ : Saxophone

สุดยอดสถานที่พบปะสังสรรค์ฟัง DJ ที่ชื่นชอบ : Bed Supperclub

สุดยอดเครื่องดื่มเบียร์ที่ชื่นชอบ : Heineken

สุดยอด Spirit ที่ชื่นชอบ : Absolut

ร้านที่มีทีมงานน่ารักที่สุด : Bed Supperclub

ร้านที่ได้รับการประเมินค่าสูงที่สุด : Bed Supperclub





Feel Great

สุดยอดร้านสปาที่ชื่นชอบ : Health Land

สุดยอด Fitness Club ที่ชื่นชอบ : Fitness First

สุดยอดสตูดิโอสำหรับเรียนโยคะที่ชื่นชอบ : Absolute Yoga

สุดยอดโรงพยาบาลที่ชื่นชอบ : Bumrungrad

สุดยอดสถาบันเสริมความงาม Beauty Clinic ที่ชื่นชอบ : Romrawin Skin & Beauty Clinic





Get Away

สุดยอดสายการบินสำหรับเดินทางในอาเซียนที่ชื่นชอบ : Air Asia

สุดยอดสายการบินสำหรับเดินทางทั่วโลกที่ชื่นชอบ : THAI Airways

สุดยอดโรงแรม (ต่างจังหวัด)ที่ชื่นชอบ : Let’s Sea





EATING OUT

สุดยอดร้านอาหารหน้าใหม่ที่ชื่นชอบ : Hyde & Seek

สุดยอดร้านเสต็กที่ชื่นชอบ : New York Steak House

สุดยอด Buffet ที่ชื่นชอบ : JW Marriott (Marriott Cafe)

สุดยอด Sunday Brunch ที่ชื่นชอบ : Four Seasons

ร้านอาหารที่ได้รับการประเมินค่าสูงที่สุด : Sirocco

สุดยอดร้านอาหารแนวตะวันตกที่ชื่นชอบ : Sizzler

สุดยอดร้านอาหารที่ชื่นชอบ : Fuji

สุดยอดร้านอาหารแนวเอเชียที่ชื่นชอบ : Fuji





ขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ BK Magazine

More About Me!!

No Comments »

HomePage : http://BKK09.blogspot.com

PhotoShare : http://album-bkk09.blogspot.com

Twitter : http://twitter.com/bkk09

- เงียบๆ (ถ้าไม่สนิท)

- พูดมาก (ใครที่สนิทด้วยจะรู้ว่าพูดมาก ถึงมากที่สุด)

- หยิ่ง เดินสวนไม่ทัก (ุมองไม่เหนT_T)

- ชอบอะไรที่คนอื่นไม่ค่อยจะชอบ (ไม่อยากแย่งของๆใคร)

- แต่อะไรที่กุอยากได้จริงๆต้องหามาให้ได้

- อะไรที่ไม่ชอบก็อย่ามายัดเยียด (ของมันจะเสียซะเปล่าๆ)

- ไม่ชอบอะไรที่ซ้ำซาก (พูดกรอกหูเรื่องซ้ๆ ซากๆ จะรำคาญมาก)

- อะไรที่ชอบก็จะชอบเหมือนเป็นส่วนหนึ่งชองชีวิต

- ไม่ชอบคนที่ชอบยุ่งกับเรื่องของชาวบ้านมากเกินไป (พวกที่ใช้ของๆคนอื่นแบบไม่ได้ขอด้วย)

- เวลาประหยัดจะยอมอดได้แม้แต่ของที่ชอบกินที่สุด

- แต่เวลามีตังจะซื้อทุกอย่างที่อยากได้

- อารมแปรปรวนมาก (นอยๆบ้าง ลั้นลาบ้าง)

- ชอบการจับผิดคน (คนเลว)

- อาบน้ำนานมาก (อาบปกติไม่สระผมประมาณ 30 นาทีโดยเฉี่ย)

- ไม่กินเผ็ด (เผ็ดสุดก็ผัดกระเพรา)

- ชอบนั่งอยู่บนรถเมล์แอร์ (ตอนที่ฝนตกรถติด)

- ไม่ชอบเดิน JJ หรืออะไรที่ร้อนๆ

- อยากทำงาน (แต่พอทำจริงแล้วหยุดเยอะมาก)

Employers
  • Cashier · Mar 2010 to May 2010 · Bangkok, Thailand

Grad School

High School

พรีวิวนิทรรศการ Soft Power @ BACC

No Comments »

      วันนี้มาหอศิลป์ @แยกปทุมวัน  จริงๆแล้วก็มาทำงานวิชาสุทรีย์ฯด้วย  คือจริงๆแล้วการสั่งงานเด็กไม่ควรจะฟิคนะว่าต้องไปที่นี่  ทำอันนั้นอันนี้  มันเหมือนเป็นการตีกรอบความคิดเด็กมากเกินไป

      หอศิลป์อันนี้ชื่อเต็มๆก็คือ "หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร"  เพิ่งเปิดมาได้ไม่กี่ปีเอง  ตั้งอยู่ที่แยกปทุมวัน  ข้างในก็แบ่งเป็นเก้าชั้น  ชั้นแปดกับชั้นเก้าจะเป็นชั้นที่ใช้สำหรับจัดนิทรรศการแบบเต็มชั้น  ส่วนที่ชั้นสี่ก็จะมีห้องสตูดิโอ  ไว้จัดนิทรรศการเหมือนกัน  ชั้นหนึ่งจะมีห้องออดิโทเรียม  ไว้แบบประมาณว่าวไว้จัดบรรยาย  ไว้เวลาใครเสด็จมาเปิดงานอะไร  จะแถลงข่าวอะไรก็ใช้ห้องนี้แหละ  ชั้นหนึ่งถึงสี่ก็แบบมีห้องมีตติ้งรูม  ไว้จัดพวกบรรยายเล็กๆ  เวิร์คช็อป  แล้วก็จะมีร้านค้า  พวกเกี่ยวกับงานศิลปะ  มีช็อปของพวกชมรมถ่ายภาพฯ ของหน่วยงานต่างๆนาๆ  ก็อย่างว่าแหละนะ  ก็เป็นรายได้ของหอศิลป์อีกทาง

      นิทรรศการ Soft Power เป็นของ "พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์"  เป็นนิทรรศการที่แสดงถึงความงามจากภายใน  สู่ภายนอกของผู้หญิง  โดยแบ่งเป็น
  • โรแมนติค
  • ดอกไม้
  • สัตว์ป่า
  • นักสู้


บรรยากาศทางเข้านิทรรศการ
ทางเดินลึกลับ  ชวนให้ผู้เข้าชมนิทรรศการเกิดความตื่นเต้น







ห้องแรก  กล่าวคร่าวๆ  เกี่ยวกับนิทรรศการ









ห้องโรแมนติค
กล่าวเกี่ยวกับอารมณ์โรแมนติคของผู้หญิง  มีการตกตแต่งเป็นบันไดอยู่กลางห้อง  เหมือนจะเดินขึ้นสรรค์กันเลยทีเดียว






นำภาพมาฝากกันเบาะๆ  เท่านี้ก่อนนะครับ  ที่เหลือต้องไปชมด้วยตัวเองครับ  ถึงจะรู้ว่า  "มันดีมาก"

Share



Total View

พีรณัฐ ไกรคุ้ม Peeranat Krikhoom
bkk09man@gmail.com