BANGKOK ART AND CULTURE CENTRE
“ศิลปะในรัชกาลที่ 9 : ไทยเท่...จากท้องถิ่นถึงอินเตอร์”
วัน : 1 ธันวาคม 2554 – 5 กุมภาพันธ์ 2555
สถานที่ : ทุกพื้นที่ในหอศิลปฯ ยกเว้นห้องนิทรรศการชั้น 8
ภัณฑารักษ์ : ศ.ดร.อภินันท์ โปษยานนท์
วัตถุประสงค์
1. เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในโอกาสทรงมีพระชนมายุ 84 พรรษา
2 เพื่อเผยแพร่พระปรีชาสามารถด้านผลงานด้านจิตรกรรม
3. เพื่อเผยแพร่ผลงานอันโดดเด่นของศิลปิน โดยเฉพาะในช่วงเวลาแห่งการครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
แนวคิดของนิทรรศการ
เล่าเรื่องผลงานศิลปะที่โดดเด่นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2489 – ปัจจุบัน)
ชั้น 1 : เล่าเรื่องเส้นทางเดินของศิลปะแห่งรัชกาลที่ 9 ตามลำดับเวลา เหตุการณ์สำคัญ องค์กรผู้ให้การสนับสนุนวงการศิลปะทั้งภาครัฐและเอกชน การกำเนิดหอศิลปฯ และแสดงดัชนีศิลปิน
ผนังโค้งชั้น 3-4 : ผลงานศิลปะที่ศิลปิน นำภาพ “คน” เป็นตัวนำเสนอแทนเหตุการณ์และอารมณ์ โดยมีศิลปิน อาทิ ชาติชาย ปุยเปีย, วราวุธ ชูแสงทอง, ศักดิ์วุฒิ วิเศษมณี, ลำพู กันเสนาะ,
ห้องสตูดิโอชั้น 4 : ศิลปะที่สะท้อนเนื้อหาในสังคม เหตุการณ์ทางการเมือง เช่นเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516, 6 ตุลาคม 2519 โดยมีศิลปิน เช่น ประเทือง เอมเจริญ, ลาวัลย์ อุปอินทร์, ธรรมศักดิ์ บุญเชิด, มานิตย์ ศรีวานิชภูมิ
ชั้น 5 : เสนอศิลปะร่วมสมัย เช่น ศิลปะหอพุทธรัตน์, จิตรกรรมฝาผนังพุทธประทีป
ชั้น 7 : จัดแสดง เป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย
1. จิตรกรรมฝีพระหัตถ์ และศิลปินยุคต้นรัชสมัย (พิริยะ ไกรฤกษ์, สมโภชน์ อุปอินทร์, เฉลิม นาคีรักษ์)
2. ศิลปะไทยร่วมสมัย มีศิลปิน เช่น ชลูด นิ่มเสมอ, ดำรง วงษ์อุปราช, ทวี นันทขว้าง, ถวัลย์ ดัชนี, ช่วง มูลพินิจ
3. พุทธศิลป์ เช่น ปัญญา วิจินธนสาร, เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์, มณเฑียร บุญมา, อนุพงษ์ จันทร
ชั้น 9 : จัดแสดง เป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย
1. ศิลปะนามธรรม เช่น ชำเรือง วิเชียรเขตต์, นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน, พิษณุ ศุภนิมิตร, เดชา วราชุน
2. ศิลปินไทยสู่สากลที่มีผลงานสร้างชื่อเสียงในต่างแดน เช่น กมล ทัศนาญชลี, มณเฑียร บุญมา,สมบูรณ์ หอมเทียนทอง,คามิน เลิศชัยประเสริฐ
3. กลุ่มศิลปินหญิง เช่น อารยา ราษฎร์จำเริญสุข, ลักษมี ตั้งโฉลก, กัญญา เจริญศุภกุล,พิณรี สัณพิทักษ์