Archive for กรกฎาคม 2012

กรุงเทพเมือง..(อะไรอีก)

No Comments »

เราทั้งหลายต่างก็รู้กันดีอยู่แล้วว่าภาครัฐต่างปั้นโครงการอลังการงานสร้างต่างๆให้กรุงเทพฯเป็นศูนย์กลางของเศรษฐกิจ  สังคม  กิจกรรมต่างๆโดยใช้งบประมาณอย่างมหาศาล

อย่างโครงการแรกๆเท่าที่ข้าพเจ้านึกออกก็มี "กรุงเทพฯเมืองแฟชั่น" "กรุงเทพฯเมืองสร้างสรรค์"  "  และล่าสุดกับ"กรุงเทพฯเมืองหนังสือโลก"

แต่ทุกโครงการที่มีขึ้นมาก็ล้วนแต่ขาดการสานต่อ  ทำให้โครงการที่เคยทำไปนั้นเหมือนกับตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ

อย่างโครงการกรุงเทพฯเมืองแฟชั่น  ก่อตั้งในปี 2546  โดยใช้ยุทธศาสตร์ของ “การตลาดด้านแฟชั่น” เป็นตัวฉุดนำการพัฒนาทั้งระบบ (คือ ฉุดดึงและสร้างมูลค่าเพิ่มในทุกอุตสาหกรรมที่เก่ยวข้องกับคำว่า “แฟชั่น” ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ครบวงจรขยายตัวและเติบโตไปด้วยกันหมด)
เพิ่มเติม>ยุทธศาสตร์โครงการกรุงเทพเมืองแฟชั่น  

ส่วนตัวผมคิดว่าเป็นโครงการที่ดี  เพราะเท่าที่มองดูแล้วนอกจากโครงการนี้สามารถพัฒนาวงการแฟชั่นแล้วยังเป็นการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว  ประชาสัมพันธ์ประเทศไทยไปในตัว  ภายใต้ชื่องาน "Bangkok International Fashion Week"  ซึ่งจัดงานตั้งแต่บริเวณแยกปทุมวันไปจนถึงสถานีบีบีเอสพร้อมพงษ์กันเลยทีเดียว

ในที่สุดโครงการนี้ก็ถูกยกเลิกไปในปี 2551  แต่ก็ต้องขอบคุณภาคเอกชนที่มองเห็นถึงความสำคัญของโครงการนี้  โดยเอกชนเป็นคนควักกระเป๋าลงทุนจัดงานเองภายใต้ชื่องาน "BIFW" และ "ELLE Fashion Week" แต่ก็เป็นเพียงแค่งานเล็กๆที่จัดขึ้นบริเวณลาน ParcParagon และลาน CentralWorld Square เท่านั้น



โดยสิ่งหนึ่งที่ภาครัฐลืมคิดเกี่ยวกับการประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายในการตั้งกรุงเทพฯให้เป็นเมืองของแฟชั่นก็คือมันต้องใช้เวลา   ใช่ว่าจะจัดงานแบบนี้เพียงแค่ครั้งสองครั้งแล้วก็จะประสบความสำเร็จ
เพิ่มติม>ปิดฉากกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น

อย่างไรก็ตามในตอนหลัง คนในวงการแฟชั่นบ้านเราก็ได้ออกมาเรียกร้องให้ทำการปัดฝุ่นโครงการนี้อีกครั้ง  แต่ดูอย่างไรก็ยังคงไร้ซึ่งความหวังที่ภาครัฐจะกลับมาปัดฝุ่นโครงการนี้อีก
เพิ่มเติม>เรียกร้องกรุงเทพเมืองแฟชั่นให้กลับมาอีกครั้ง


โครงการต่อมาเกี่ยวกับการตั้งเป้าให้กรุงเทพฯเป็นศูนยืกลางก็คือ  "กรุงเทพฯเมืองสร้างสรรค์"  โดยโครงการนี้จัดขึ้นโดยศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ระดมมันสมองของคนสร้างสรรค์ ผู้มีบทบาทสำคัญในการสร้างปรากฏการณ์พัฒนา “เมือง” สู่ “เมืองสร้างสรรค์” ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองทางความคิด ในงานสัมมนา “เปิดศักยภาพกรุงเทพฯ เมืองสร้างสรรค์” (Creative City: Bangkok’s Creative Potentials) เพื่อเปิดโอกาสให้คนเมืองได้ร่วมกันค้นหาแนวทางการพลิกโฉม “มหานครกรุงเทพ” สู่ความเป็น “เมืองสร้างสรรค์” (Creative City) ชั้นนำแห่งใหม่ของโลก พร้อมเปิดตัวผลงานการวิจัยเชิงลึกในด้านการบริหารจัดการของหน่วยงานภาครัฐ และข้อมูลการสำรวจกลุ่มตัวอย่างอุตสาหกรรมแฟชั่นที่มีความสำคัญในเชิง เศรษฐกิจและความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งมีส่วนผลักดันให้ “กรุงเทพมหานคร” กลายเป็นเมืองธุรกิจยุคใหม่ที่น่าจับตามอง
เพิ่มเติม>“เปิดศักยภาพกรุงเทพฯ เมืองสร้างสรรค์”

โครงการนี้ก็เป็นอีกโครงการที่ดี  และเป็นการต่อยอดมาจากนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของทางรัฐบาล  

แต่ก็เป็นเช่นเดิม  โครงการนี้ก็ได้ล้มหายตายจาก  ขาดการสานต่อ  ทำให้ไม่เกิดผลตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ตั้งแต่แรก

และล่าสุดที่กำลังจะมาถึงในปี 2556 นี้  และก็ได้มีการประชาสัมพันธ์โครงการมาระยะหนึ่งแล้ว  ก็คือโครงการ "กรุงเทพฯเมืองหนังสือโลก"

โดยโครงการนี้เกิดขึ้นโดยที่'กรุงเทพฯได้ชนะการคัดเลือกโดย
  • ผู้แทนจากสมาคมผู้จัดพิมพ์นานาชาติ (IPA)
  • สหพันธ์ผู้จำหน่ายหนังสือนานาชาติ (IBF)
  • สหพันธ์สมาคมและสถาบันห้องสมุดนานาชาติ (IFLA)
  • องค์การสหประชาชาติ (UNESCO)

เป้าหมายของโครงการนี้ก็คือ  การทำให้คนกรุงเทพฯอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นประมาณ ๑๐-๒๐ เล่มต่อปี ภายในปี ๒๕๕๖ จากเดิม ปัจจุบันเฉลี่ยอ่านหนังสือเพียง ๕ เล่มต่อปีเท่านั้น โดยมีกลุ่มเป้าหมายสำคัญคือ เด็กและเยาวชน
เพิ่มเติม>Bangkok World Book Capital 2013 กรุงเทพฯเมืองหนังสือโลกปี 2556


โดยล่าสุดได้ส่งเสริมการอ่านของคนกรุงเทพฯโดยการจัดทำ TVCชุด 'แค่ถือหนังสือก็ฉลาดแล้ว'  แต่TVCที่ได้ปล่อยออกไปก็ได้เป็นประเด็นร้อนในสังคมออนไลน์  ด้วยเหตุผลที่ว่า  "การดูดี หรือ ความฉลาด ไม่ใช่แค่ การหยิบมาอ่าน แต่ขึ้นกับว่า อ่านอะไร แต่ในขณะเดียวกัน การอ่าน ก็ไม่ได้ใช้เพื่อสรุปแทน ความดูดี หรือ ความเป็นคนฉลาด แต่ การอ่านเป็นการเปิดโลกทัศน์เราให้กว้าง ให้ลึก ฝึกให้คิด ฝึกให้เข้าใจ ซึ่งนั่นเป็นการพัฒนา ทรัพยากรพื้นฐานในสังคมอันได้แก่ มนุษย์ ซึ่งหากพัฒนามากขึ้น ก็จะยิ่งช่วยพัฒนาสังคมให้รุดหน้ามากขึ้น  การกระตุ้นให้บ้านเราเป็น เมืองหนังสือโลก จึงไม่น่าจะใช่ จำนวน แต่คือเนื้อหาว่า คนส่วนใหญ่อ่านอะไร และ รัฐเข้าใจวัตถุประสงค์หรือส่งเสริมให้คนอ่านอย่างไร"
ตัวอย่างTVCของโครงการ"กรุงเทพฯเมืองหนังสือโลก"
นอกจากนี้ ยังมี เสียงวิจารณ์จาก ปราบดา หยุ่น นักเขียนรางวัลซีไรท์ชื่อดัง ที่ออกมาแสดงมุมมองของตน ต่อโฆษณากรุงเทพเมืองหนังสือ ด้วยว่าโฆษณาดังกล่าวเป็นการหลอกลวงผู้รับสาร เพิ่มเติม>วิจารณ์หนัก! โฆษณา กรุงเทพเมืองหนังสือโลก แค่ถือหนังสือสร้างภาพ
  การล้อเลียนTVCของโครงการ"กรุงเทพฯเมืองหนังสือโลก"
นี่คงเป็นเพียงแค่อุปสรรคเพียงเล็กน้อยในจุดเริ่มต้นของโครงการนี้เท่านั้น  แต่โครงการนี้จะสำเร็จลุล่วงตามจุดประสงค์ได้โดยต้องเปลี่ยนิสัยขี้เกียจ  และนิสัยไม่รักการอ่านของคนไทยเสียก่อน ข้าพเจ้าคิดว่าโครงการที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนั้น  ถ้าหากได้รับการสานต่อ  และจัดงานขึ้นเป็นประจำก็จะเกิดผลตามที่ได้ตั้งไว้   โดยทั้งนี้ทางภาครัฐต้องใจเย็น  และใส่ใจกับโครงการนี้อย่างจริงจังเสียก่อน ที่กล่าวมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น  ยังไม่ได้รวมถึงงาน "Bangkok International Film Festival"  และงานอื่นๆที่เกิดขึ้นแล้วล้มเหลว เพราะไม่ได้รับการสานต่อ และขาดการสนับสนุนอีกมากมาย  และต่อไปจะมีโครงการอะไรมาอีก  และจะประสบความสำเร็จสักเพียงใด...ต้องติดตามชมกันต่อไป 

อ้างอิง 

สึนามิคนแก่

No Comments »

"ประชากร" หนึ่งในฟันเฟืองสำคัญอันจะทำให้ต้นข้าว 10 รวง ที่มัดหลวม ๆ รวมกันภายใต้สัญลักษณ์ "อาเซียน" เดินเครื่องเต็มกำลังสู่ประชาคมอาเซียน ในอีก 3 ปีข้างหน้า เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภูมิภาคให้เจริญเติบโตและแข็งแกร่งเป็นหนึ่งเดียว กัน

ปัจจัยสำคัญ คือการหลั่งไหล ถ่ายเทแรงงานระดับภูมิภาค เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ เนื่องจากอัตราการเกิดของประชากรโลกกำลังวิกฤต เพราะความไม่สมดุลของโครงสร้างประชากรที่มีอัตราการเกิดลดลงอย่างน่าใจหาย

แม้ แต่ในประเทศไทยเอง อีก 10-15 ปีข้างหน้า คือ พ.ศ. 2565-2570 จะประสบกับปัญหานี้ โดยโครงสร้างประชากรจะเป็นลักษณะพีระมิดกลับหัว คือคนสูงวัยจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น ขณะที่คนเกิดน้อยลง อันเนื่องมาจากคนในยุคสมัยนี้ไม่นิยมมีบุตร ซึ่งจะส่งผลถึงจำนวนแรงงานในอนาคตด้วย

จากสถิติอัตราการเกิดและ ดัชนีการมีบุตรของหญิงไทยเกือบจะอยู่ในอันดับรั้งท้ายในหมู่สมาชิก เป็นรองเพียงสิงคโปร์เท่านั้นที่ครองความเป็นโสดสูงสุดในภูมิภาคอาเซียน

เนื่องในวันที่ 11 กรกฎาคมนี้ตรงกับ

"วัน ประชากรโลก" เซ็กชั่นดีไลฟ์ หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจจึงได้หยิบยก "วาระประชากรไทย" ขึ้นมาฉายให้เห็นภาพในอนาคตที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่ยังพอมีทางอุดช่องโหว่ได้อยู่บ้าง ก่อนที่ปัญหาจะลุกลามขยายวงออกไปอีก

ศาสตราจารย์ ปราโมทย์ ประสาทกุล ปรมาจารย์แห่งสถาบันประชากรและสังคม-ม.มหิดล เริ่มฉายภาพคลื่นคนกลุ่มใหญ่ หรือคนยุค "เบบี้บูมเมอร์" กำลังอพยพย้ายสำมะโนครัวเข้าสังกัด "วัยชรา"

ยุค "เบบี้บูมไทย" สวนทางกับช่วงเบบี้บูมในสหรัฐหรือญี่ปุ่นที่เกิดขึ้นระหว่างปี 2488-2508 หรือตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขณะที่ฝั่งไทยช่วงปี 2506-2526 มีเด็กเกิดปีละเกิน 1 ล้านคน จึงนิยามยุคนี้ว่า "คนรุ่นเกิดล้าน" นับอายุคนกลุ่มนี้เริ่มทยอยฉลอง "แซยิด" มีอายุครบ 60 ปี กันในอีก 10 ปีข้างหน้า และจะกลายเป็น "สึนามิคนแก่" ถาโถมซัดเข้าสังคมไทย

"เรา เริ่มเห็นเค้าลางการเปลี่ยนแปลงของสัดส่วนประชากร ตั้งแต่ช่วง พ.ศ. 2546 สัดส่วนของคนชราเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ยิ่งโดยเฉพาะคนมีอายุยืนยาวขึ้น ในอนาคตผู้สูงอายุจะมีก้าวกระโดดจากประมาณ 10% เป็น 20% ของจำนวนประชากรทั้งหมด ราว ๆ 10-15 ล้านคน และมีแนวโน้มสูงขึ้นเช่นเดียวกับประชากรญี่ปุ่นที่มีคนแก่ในอัตรา 1 ใน 4 ของประชากรทั้งประเทศ"

สอดคล้องกับผลวิจัยชี้ "จุดเปลี่ยน" อยู่ในช่วงปี พ.ศ. 2563-2565 ดัชนีผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปี จะมีจำนวนเทียบเท่ากับกลุ่มคนวัยเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี แต่หลังจากปีนั้นไปแล้ว ประเทศไทยจะเดินหน้าสู่ "ยุคผู้สูงอายุครองเมือง" อย่างเต็มตัว

ปรากฏการณ์ที่มีผู้สูงอายุมากกว่าเด็กเช่นนี้เป็น เหมือนสายน้ำมิอาจไหลย้อนกลับ ดังเช่นเหตุการณ์ที่ประเทศพัฒนาแล้วทั้งหลายประสบมาก่อนหน้าไทย

ปัจจุบัน อัตราเพิ่มของประชากรไทยชะลอตัวลงอย่างรวดเร็วไปจนถึงจุด "ติดลบ" แน่นอนว่าจำนวนประชากรไทยใกล้จะถึงจุดคงตัวในระยะเวลาอีกประมาณ 10 ปีเท่านั้น

หนึ่งในเหตุผลหลัก สืบเนื่องจากโครงการวางแผนครอบครัวแห่งชาติ ในสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร เพราะในขณะนั้นอัตราการเกิดของประเทศสูงมาก จนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมตามไม่ทัน จึงต้องส่งเสริมให้คู่สมรสใช้วิธีคุมกำเนิด เพื่อให้อัตราการเกิดลดต่ำลง

จน ถึงปัจจุบันอัตราการเกิดลดลงเหลือเพียงไม่เกิน 8 แสนคนต่อปี และมีแนวโน้มว่าลดต่ำลงไปอีก เพราะคนหนุ่มสาวนิยมเป็นโสดกันมากขึ้น และผู้ที่แต่งงานแล้วก็มักมีลูกน้อยลง

มีสถิติตัวเลขที่น่าตกใจ จากเมื่อ 50 ปีก่อน ผู้หญิงไทยคนหนึ่งมีลูกเฉลี่ยตลอดวัยเจริญพันธุ์ของตนประมาณ 5-6 คน แต่ทุกวันนี้ผู้หญิงไทยคนหนึ่งมีลูกโดยเฉลี่ยน้อยกว่าเมื่อก่อนถึง 4 เท่าตัว เหลือเพียง 1.5 คนเท่านั้น เกิดเป็น "ภาวะเจริญพันธุ์ต่ำกว่าระดับทดแทน" หมายถึงผู้หญิงคนหนึ่งมีลูกเฉลี่ยน้อยกว่า 2 คน ซึ่งเป็นจำนวนไม่พอที่จะทดแทนพ่อและแม่ได้

เมื่อเส้นกราฟคนชราพุ่ง สูงขึ้นสวนทางกับอัตราเกิด ย่อมส่งผลให้โครงสร้างประชากรเสียสมดุล เกิดภาวะชะงักงันของประชากรทดแทนกันจากรุ่นต่อรุ่น การรับช่วงส่งต่อไม้ผลัดในการพัฒนาประเทศอาจต้องสะดุดลง

"ทีดีอา ร์ไอ" เคยออกมาเตือนอุตสาหกรรมให้เตรียมรับมือแรงงานหนุ่มสาวกำลังร่วงโรย ตามสัดส่วนประชาชกรไทยที่มีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ชี้จะกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงาน ขณะที่แรงงานระดับปริญญาที่ออกมาป้อนตลาดกลับไม่มีคุณภาพ ส่งผลให้อุตสาหกรรมไทยจะเกิดปัญหาการว่างงาน และขาดแคลนแรงงานในอนาคต

นอก จากนี้ รัฐยังต้องเตรียมแบกภาระหนักอึ้งของคลื่นคนชราล้นเมือง ทั้งมาตรการสวัสดิการสังคม เบี้ยผู้อายุ โดยเฉพาะปัจจุบันยังเป็นระบบให้เปล่า ไม่ได้หักรายได้เพื่อออมเงินตอนแก่ชราเหมือนต่างประเทศ ถ้ามองอย่างสุดโต่ง รัฐบาลไทยอาจเผชิญสถานการณ์ "ถังแตก" ได้ในอนาคต

ภาครัฐขยับเขยื้อน มอบหมายให้สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเร่งดำเนินการ และส่งเรื่องต่อให้ทางวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาฯ เร่งหามาตรการกระตุ้นการมีลูกของคนไทย หวังให้คลอดแผนก่อนเดือนกันยายนนี้ เพื่อแก้ปัญหาภาวะเจริญพันธุ์ที่ลดลง

"ผมคิดว่าเด็กเกิดน้อยมีสาเหตุสำคัญ 2 ประการ ประการแรก คนไทยรุ่นใหม่แต่งงานกันน้อยลง และคนที่แต่งงานแล้วก็ไม่อยากมีลูกกันมากนัก"

พร้อม เตือนพึงระวังจำนวนเด็กเกิดที่ลดลงแต่ต้องคำนึงถึง "คุณภาพของการเกิด" ควรดำเนินนโยบายส่งเสริมคุณภาพการตั้งครรภ์ คู่ขนานกับมาตรการกระตุ้นให้คนมีลูกเพิ่มขึ้น เช่น กระตุ้นให้คนแต่งงานก่อน โดยรัฐควรริเริ่มโครงการ จัดให้มีสิ่งจูงใจ อนาคตประเทศไทยฝากไว้ที่ครรภ์มารดา


จากPrachachat Online

ความสำคัญของศูนย์บริการสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ

No Comments »

สรุปความสำคัญของศูนย์บริการสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาที่มีต่อสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา

 

ความสำคัญ 

  • เป็นศูนย์กลางของการผลิตสื่อการศึกษาทุกประเภท
  • ให้บริการยืมโสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ  ทั้งที่เป็นเครื่องฉายและมิใช่เครื่องฉาย
  • ออกแบบระบบโสตทัศนูปกรณ์ห้องเรียน ห้องประชุมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย
  • ควบคุมการให้บริการในการใช้โสตทัศนูปกรณ์ภายในหอประชุม ห้องประชุม ห้องปฏิบัติการภาษา ห้องบรรยายพิเศษต่าง ๆ ห้องเรียนรวม และห้องเรียนภายในทั้งหมดของมหาวิทยาลัย
  • ให้บริการผลิตสื่อการสอนด้านสื่อโสตทัศนวัสดุ และสื่อสิ่งพิมพ์ รวมทั้งงานด้านกราฟิกทั้งหมด ของมหาวิทยาลัย 
  • ให้บริการด้านวิชาการแก่บุคลากรของมหาวิทยาลัย  พร้อมทั้งให้คำปรึกษา แนะนำ และฝึกทักษะการใช้โสตทัศนูปกรณ์และการผลิตโสตทัศนวัสดุประเภทต่าง ๆ 
  • เก็บรักษาต้นฉบับสื่อทุกประเภท  เพื่อเป็นต้นฉบับในการทำสำเนาไปใช้งานยังศูนย์บรรณสารสนเทศ
  • จัดโครงการพัฒนาและฝึกทักษะด้านการผลิตสื่อและเทคนิคการนำเสนอสื่อการสอน โดยเน้น
    การบริหารเสน่ห์ในการนำเสนอ หรือจริตวิทยาต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสบการณ์ตรงให้กับคณาจารย์  และบุคลากรทั้งหมดของมหาวิทยาลัย 
  • รวบรวมรายงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสื่อและการสอนแบบต่าง ๆ เพื่อเป็นข้อมูลทางวิชาการแก่
    คณาจารย์ และบุคลากรของมหาวิทยาลัย 
        เราจะเห็นได้ว่าหน้าที่และความสำคัญของศูนย์บริการสื่อฯนั้นไม่ได้เกี่ยวข้องแต่กับตัว Hardware อย่างเดียว  แต่ยังมีความครอบคลุมไปถึงการผลิต  การให้บริการอุปกรณ์,สถานที่  ไปจนถึงการอบรมบุคลากรเพื่อที่จะสามารถใช้สื่อการเรียนการสอนได้อย่างเต็๋มประสิทธิภาพ

   

 

        โดยข้าพเจ้าจะทำการยกตัวอย่างศูนย์สื่อฯ ๑ ตัวอย่าง  ซึ่งก็คือ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (Thailand Creative & Design Center) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า TCDC
        TCDC มีวัตถุประสงค์หลักในการสร้างโอกาสให้ประชาชนได้เข้าถึงความรู้เพื่อที่จะเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ และเปิดโอกาสให้ประชาชนได้สัมผัสและสนุกกับการตักตวงประสบการณ์ จากผลงานและความสำเร็จของนักคิดนักออกแบบจากทั่วโลก

        TCDC มีการให้บริการหลักๆ ๓ อย่าง  คือ

  • นิทรรศการ
  • ห้องสมุดที่รวบรวมหนังสือและข้อมูลข่าวสารด้านการออกแบบที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย
  • การจัดความรู้ให้ลูกค้าในรูปแบบของสัมมนา อบรม เวิร์คชอป ตลอดจนจัดอีเวนท์เปิดโอกาสในการพบปะให้นักออกแบบและผู้ประกอบการ
        TCDC มีการให้บริการกับบุคคลทั่วไป  และถือเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับนิสิต, นักศึกษา  เพราะที่นี่มีการเผยแพร่ความรู้และส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในรูปแบบต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นนิทรรศการถาวรและนิทรรศการชั่วคราวที่คอยสับเปลี่ยนทุกเดือน   และถ้าหากใครต้องการยืมหนังสือกลับไปอ่านที่บ้านก็สามารถทำได้

Activated Carbon คืออะไร?

No Comments »

        ช่วงนี้เราคงได้ยินคำว่า "Activated Carbon" กันบ่อยๆนะครับ  ส่วนใหญ่ก็จะถูกอ้างว่าเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีฤทธิ์ในการดูดซับสิ่งสกปรก
        ว่าแต่เจ้า"Activated Carbon"นี่มันคืออะไรกันแน่  ..  เรามาดูกันครับ




        "Activated carbon หรือถ่านกัมมันต์ เป็น ธาตุคาร์บอนบริสุทธิ ในโครงสร้างแบบอสัญญรูป(amorphous) ซึ่งมีการจัดเรียงตัวของคาร์บอนอะตอมแตกต่างจากรูปแบบอื่นๆเช่นเพชร หรือกราไฟต์ คุณสมบัติหลักๆของ activated carbon คือมีรูพรุนสูงและมีคุณสมบัติในการดูดซับ สารประกอบอินทรีย์ต่างๆ ที่มีอยู่ในของเหลว หรือก๊าซเอาไว้ได้ในปริมาณสูง จึงนำไปใช้ประโยชน์ได้มากมาย 

        การผลิต activated carbon จะใช้วัตถุดิบจากอินทรียวัตถุต่างๆกันเช่น ถ่านไม้ เปลือกถั่วเมล็ดแข็ง กะลามะพร้าว หรือกระดูกสัตว์ ที่เอามาเผาเป็นถ่าน และทำการ activate ภายใต้ความร้อนสูงและไอน้ำในสภาวะปราศจากออกซิเจน เพื่อเป็นการกำจัด สารประกอบต่างๆที่ยังหลงเหลืออยู่ให้มีเพียงคาร์บอนบริสุทธิอย่างเดียวและ เป็นการเพิ่มพื้นที่ผิวในการดูดซับให้มากที่สุด.... 

        Activated carbon ถูกนำไปใช้ในการกรองเอาสารประกอบอินทรีย์ต่างๆที่ไม่ต้องการออกจากของเหลว หรือก๊าซ เช่น  ในการเตรียมน้ำดื่มบริสุทธิ อุตสาหกรรมต่างๆที่ต้องใช้น้ำบริสุทธิ์ การบำบัดน้ำเสีย,  ใช้ในการฟอกสีของเหลวต่างๆ, การทดลองวิจัยในการแยกและเตรียมสารเคมี, ท างการแพทย์นำไปใช้ในการกำจัดพิษ การฟอกเลือด และอื่นๆ,  ใช้กรองกลิ่นและก๊าซที่ไม่ต้องการ ในหน้ากากกรองสารพิษ และเครื่องฟอกอากาศ

________________________________________________________________________

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จากแหล่งต่อไปนี้ครับ

Share



Total View

พีรณัฐ ไกรคุ้ม Peeranat Krikhoom
bkk09man@gmail.com