Archive for 2013

Learning_by_doing__ร่วมคิด_ร่วมสร้าง_งานนิทรรศการ

No Comments »



ช่วงต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา  ใครที่ผ่านไปบริเวณ SWUniplex คงเห็นการจัดงานนิทรรศการบริเวณใต้อาคารนวัตกรรม ศ.ดร.สาโรช บัวศรี หรือที่ชาว มศว เรียกกันติดปากว่า “ตึก 400ล้าน”  ซึ่งนั่นก็คืองาน Techno Showcase ก้าวล้ำนำการศึกษา” 




Techno Showcase ก้าวล้ำนำการศึกษา” คือ งานนิทรรศการที่นิสิตในภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษาได้ร่วมกันจัดขึ้นมา  เพื่อแสดงผลงาน และกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์  ทั้งที่เกี่ยวกับสาขาวิชา  และความรู้ที่เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา  โดยในงานประกอบด้วยซุ้มจำนวน  8  ซุ้มด้วยกัน  คือ
1.       TECH FOR TEACH  (สื่อการสอนเพื่อการศึกษา) 
2.       NOW YOU SEE ME (โทรทัศน์เพื่อการศึกษา)
3.       SEE SNAP  (ภาพถ่ายเพื่อการศึกษา)
4.       READ ME PLEASE  (สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา)
5.       DO YOU HEAR ME ?  (วิทยุเพื่อการศึกษา)
6.       AWAY SO FAR   (การศึกษาทางไกล)
7.       AROUND THE WORLD  (โซเชียลมีเดียกับการศึกษา)
8.       X- PLORING TECH FOR FUN  (เกมส์เพื่อการศึกษา)

โดยแต่ละซุ้มต่างก็มีการสร้างความน่าสนใจให้กับซุ้มของตนเองแตกต่างกันออกไป  ไม่ว่าจะเป็นการจำลองห้องอัดเสียง  จำลองห้องส่งวิทยุโทรทัศน์  หรือแม้กระทั่งจำลองสตูดิโอถ่ายภาพที่ผู้เข้าร่วมชมงานสามารถเข้ามาถ่ายภาพ  โดยที่ได้ทั้งความรู้และได้ของที่ระลึกกลับไปอีกด้วย

ตัวอย่างการตกแต่งซุ้ม  (ซุ้มเกมส์เพื่อการศึกษา)
นิสิตภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษาต่างได้รับความรู้มากมายจากการลงมือทำนิทรรศการครั้งนี้  ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการออกแบบแนวทางการจัดงาน  การออกแบบของซุ้มในแต่ละซุ้ม เพื่อให้ผู้้ข่าชมเกิดความสนใจ  และสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ทุกคนได้รับจากการจัดงานครั้งนี้ก็คือการรู้จักทำงานร่วมกับผู้อื่น  รู้จักการเสียสละ  และประสบการณ์ที่ดี ซึ่งหาไม่ได้จากการเรียนภายในชั้นเรียนเพียงอย่างเดีย


บรรยากาศการจัดเตรียมงาน

บรรยากาศการจัดเตรียมงาน


จากหน้าจอคอมพิวเตอร์สู่สถานที่จริง__MOCA Bangkok

No Comments »




เนื่องในวันวันที่ 15 กันยายน 2556 เป็นวันครบรอบ 121 ปี วันคล้ายวันเกิดของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ผู้มีส่วนสำคัญในการก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร   และเป็นผู้มีคุณูปการต่อวงการศิลปะร่วมสมัยของไทย ข้าพเจ้าจึงถือโอกาศอันดีนี้เขียนบทความเกี่ยวกับศิลปะอีกหนึ่งบทความ

จากบทความที่แล้ว  [เสพศิลป์....ผ่านปลายนิ้ว] ข้าพเจ้าได้กล่าวถึงนิทรรศการออนไลน์ของ MOCA หรือ พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย  ที่ทุกคนสามารถเข้าชมได้จากทุกที่บนโลก  มาถึงบทความนี้ ข้าพเจ้าจะพาผู้อ่านทุกท่านไปชมนิทรรศการของจริง  กับสถานที่จริง  ที่เดิม  ที่ MOCA นั่นเอง  เรามาดูกันว่าสถานที่จริง กับภาพในนิทรรศการออนไลน์นั้นเหมือน หรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง



Photo by bkk09.

นอกจากภาพนิ่งแล้ว  กลุ่มเพื่อน และข้าพเจ้าได้ร่วมกันจัดทำคลิปวิดิโอแนะนำพิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัยขึ้น



เราจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าพิพิธภัณฑ์มีการจัดแสงและโทนสีของห้อง  เพื่อให้สื่อถึงอารมณ์ และทำให้ผลงานศิลปะต่างๆ โดดเด่นมากยิ่งขึ้น  ซึ่งเป็นหลักการเน้น (Emphasis) ซึ่งเป็นการเลือกย้ำทำให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของสิ่งเร้าให้มีความเข้มโดดเด่นกว่าองค์ประกอบอื่นๆ ช่วยกระตุ้นให้ผู้ชมเกิดการรับรู้นิทรรศการได้มากกว่าสิ่งแวดล้อมทั่วไปทำให้ผู้ชมรับรู้จุดที่เน้นได้ชัดเจนกว่าส่วนอื่นที่มีลักษณะเป็นปกติธรรมดาการเน้นให้เกิดจุดเด่นอาจต้องอาศัยองค์ประกอบศิลป์ ได้แก่ สี แสงเงา พื้นผิวรูปร่าง รูปทรง ซึ่งหลักการเน้นนั้นมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน  โดยผู้อ่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ดังต่อไปนี้ http://hnung4.blogspot.com/

เสพศิลป์ . . . . ผ่านปลายนิ้ว

อ่านเพิ่มเติม » | No Comments »


ข้าพเจ้าเชื่อว่าไม่เพียงแต่ข้าพเจ้าคนเดียว  ที่อยากจะออกจากห้องสี่เหลี่ยมไปเปลี่ยนบรรยากาศเดินชมงานศิลปะ หรืองานนิทรรศการต่างๆ ที่จัดขึ้นตามพิพิธภัณฑ์  แต่ก็จะต้องพบกับอุปสรรคต่างๆ ที่ทำให้ไม่สามารถไปชมนิทรรศการนั้นๆ ได้  ไม่ว่าจะด้วยระยะทาง หรือฟ้าฝนไม่เป็นใจ  แต่ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของโลกยุคปัจจุบัน  ทำให้เราสามารถที่จะเข้าไปชมนิทรรศการในพิพิธพัณฑ์ได้เพียงแค่คลิกเดียวเท่านั้น  เทคโนโลยีนี้ที่ข้าพเจ้ากล่าวถึงก็คือ “นิทรรศการออนไลน์” นั่นเอง  แต่จะมีสักกี่คน ที่เข้าใจถึงความหมายที่แท้จริงของคำๆ นี้  ดังนั้น  เราจึงควรที่จะทำความเข้าใจถึงความหมายของคำว่านิทรรศการออนไลน์กันเสียก่อน  


“นิทรรศการออนไลน์” คือ การจำลอง หรือจัดแสดง เนื้อหาสาระหรือความรู้ในรูปแบบนิทรรศการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้จัดทำว่าต้องการจะนำเสนอเนื้อหาสาระใด ในการนำเสนอนั้น มีวิธีการ คือ จัดเก็บองค์ประกอบของเนื้อหาเป็น ข้อความ ภาพ หรือเสียง  และหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ที่นำเทคโนโลยีนี้มาใช้ก็คือ MOCA Bangkok


MOCA Bangkok”  มีชื่อเต็มๆ ว่า “Museum Of Contemporary Art  หรือชื่อในภาษาไทยก็คือ “พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย”  เจ้าของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก็คือ คุณบุญชัย เบญจรงคกุล  ผู้บริหารที่มีใจรักในงานศิลปะ  ตัวอาคารพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่บริเวณอาคารเบญจจินดา(UCOMเดิม)  ถนนวิภาวดี-รังสิต  และแน่นอนว่านอกจากที่เราสามารถไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์จริงๆ แล้ว  เราก็ยังสามารถที่จะเยี่ยมพิพิธภัณฑ์ผ่านเว็บไซต์ www.mocabangkok.com ได้อีกด้วย

ในส่วนของหน้าตาของเว็บไซต์พิพิธภัณฑ์เราจะเห็นได้ว่า
มีการบอกถึงประวัติความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์   
ข้อแนะนำสำหรับการเข้าชมพิพิธภัณฑ์  ผลงานสะสมของคุณบุญชัย   
และที่สำคัญก็คือมีนิทรรศการออนไลน์ให้เราได้ชม



ภาพตัวอย่างห้องจัดแสดง A ชั้น 2
ซึ่งในส่วนนี้เราสามารถเลือกชั้น และห้องจัดแสดงผลงานได้ตามความต้องการ



เมื่อเราทำการคลิกเลือกผลงานศิลปะที่แสดงอยู่บนฝาผนังแล้ว
ก็จะมีข้อมูลเกี่ยวกับผลงานชิ้นนั้นๆ ขึ้นมาให้ทราบ
 

และถ้าหากท่านเข้าชมนิทรรศการออนไลน์ของ MOCA Bangkok แล้วเกิดความสนใจที่จะเข้าชมในสถานที่จริง  ก็สามารถไปเยี่ยมชมได้  ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย  เลขที่ 499/50 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900  โทรศัพท์ 02 953 1005-7  โทรสาร 02 953 1008  อีเมลล์  info@mocabangkok.com


ความรู้สึกจากการร่วมทำนิตยสาร “MOVE Healthy & Lifestyle”

No Comments »


          ตามที่วิชา ET441 นั้น มีการให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติงานสร้างสรรค์นิตยสารที่มีเนื้อหาสาระ สามารถให้ความรู้แก่อ่านได้  ซึ่งทางกลุ่มของข้าพเจ้าได้ทำการประชุม และตกลงกันว่าจะทำรายการที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ และเรื่อวที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวัน  ชื่อว่าหนังสือ MOVE Healthy & Lifestyle Magazine

          ในตอนแรกที่ข้าพเจ้าทราบว่าอาจารย์จะทำการเลือกสมาชิกของแต่ละกลุ่มให้นั้นข้าพเจ้ายอมรับเลยว่ารู้สึกไม่ดีสักเท่าไร  เนื่องจากต้องการทำงานกับเพื่อนที่สนิทมากกว่า  แต่หลังจากที่ร่วมทำงานกันระยะหนึ่งแล้วทำให้ข้าพเจ้า (และเชื่อว่าเพื่อนในกลุ่มทุกคน) เห็นถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล  อย่างเช่นเรื่องของเวลาว่าง  เรื่องของลักษณะการทำงานที่แตกต่างกันออกไปจนทำให้การทำงานล่าช้าไปบ้าง  แต่ในที่สุดแล้วเราก็ทำการหาข้อตกลงที่เป็นการสะดวกที่สุดสำหรับทุกคน 

          ในที่สุดการทำงานก็ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี  โดยที่การทำงานครั้งนี้ทำให้ข้าพเจ้าได้ความรู้และแง่คิดในหลายๆ เรื่อง  ไม่ว่าจะเป็นความรู้ในขั้นตอนการทำสื่อสิ่งพิมพ์  ทักษะในการจัดวางหน้า  การเลือกใช้สี, แบบอักษรให้เหมาะสม  และที่สำคัญก็คือการทำงานครั้งนี้ สอนให้ข้าพเจ้ารู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่น   

          สุดท้ายนี้ก็ข้าพเจ้าต้องขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำดีๆ จากอาจารย์ และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนมา ณ ที่นี้ด้วย

ผลงานที่ทางกลุ่มของข้าพเจ้าได้ร่วมมือกันทำจนประสบผลสำเร็จ

ป้ายโฆษณาธรรมดาที่ไม่ธรรมดา

No Comments »




            Volt AB บริษัทเอเจนซี่โฆษณาของประเทศสวีเดน  ได้เนรมิตรให้ป้ายโฆษณาธรรมดาๆ ตามป้ายรถประจำทางในกรุงสสตอกโฮล์ม ที่เคยมีพื้นที่สำหรับใส่โฆษณาอยู่ด้านล่าง กับด้านบนที่เป็นนาฬิกา  ให้กลายเป็นหอนาฬิกาบิ๊กเบน สัญลักษณ์สำคัญของกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ  พร้อมแฝงโฆษณาเข้าไปด้วย  ส่งผลให้โฆษณาชิ้นนี้เป็นที่สนใจต่อผู้ที่เดินทางผ่านไปมาเป็นอย่างมาก


            ผลงานโฆษณาชิ้นนี้จัดทำขึ้นเพื่อโปรโมตแคมเปญของบริษัทสายการบินต้นทุนต่ำแห่งหนึ่งของนอร์เวย์  ที่มีปลายทางบินไปยังลอนดอน, เฮลซิงกิ  และอิสตันบูล  โดยที่ป้ายโฆษณานี้ถูกนำภาพของหอนาฬิกาบิ๊กเบนขนาดความสูงถึง 5 เมตรมาปิดทับ  โดยจงใจให้นาฬิกา(ที่มีอยู่เดิม) นั้นตรงกับหน้าปัดนาฬิกาของภาพหอนาฬิกาบิ๊กเบนอย่างพอดิบพอดี


            และด้วยความคิดสร้างสรรค์ที่สุดจะบรรเจิดนี้เองทำให้ป้ายโฆษณานี้ได้รับรางวัล Creativity International Awards ครั้งที่ 40  ในระดับ Platinum เลยทีเดียว


            ส่วนสาเหตุที่ข้าพเจ้าได้นำผลงานชิ้นนี้มากล่าวให้ทราบนั้น  ก็เพราะข้าพเจ้าต้องการที่จะสื่อว่า ความคิดสร้างสรรค์นั้นเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างสรรค์ผลงาน  เพราะหากผลงานนั้นถูกสร้างขึ้นมาโดยไม่ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์แล้วก็จะกลายเป็นผลงานที่ธรรมดา ไร้ซึ่งคุณค่า  และมันก็จะกลายเป็นแค่แผ่นแปะโฆษณา จนกลายเป็นขยะในที่สุด  ในทางตรงกันข้าม  ป้ายโฆษณาชิ้นนี้ถูกออกแบบมาโดยความคิดสร้างสรรค์เป็นอย่างดี  ทำให้เกิดการยกระดับจากโฆษณาธรรมดาๆ ให้กลายเป็น Street Furniture  และสามารถเพิ่มมูลค่าของชิ้นงานได้อย่างมากมาย


บทความนี้มีการใช้ภาพประกอบจาก

Share



Total View

พีรณัฐ ไกรคุ้ม Peeranat Krikhoom
bkk09man@gmail.com