เป็นไปได้!! twitter กับ การเรียนการสอน

        หากเราพูดถึงทวิตเตอร์ (Twitter) ผมเชื่อว่าทุกๆคนรู้จักกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว ซึ่งทวิตเตอร์ก็คือบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์จำพวกไมโครบล็อก ที่เราสามารถโพสต์ข้อความได้ไม่เกิน 140 ตัวอักษร (Microblog) เป็นข้อความสั้นๆ ที่จะบอกกับผู้ที่สนใจจะติดตามเรา (Follower) ว่าเรากำลังทำอะไรคล้ายกับ Status Message ของ MSN  ด้วยลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของทวิตเตอร์  ข้อความต่างๆจะถูกกระจายออกไปอย่างรวดเร็ว เพราะข้อความที่สั้นและเข้าใจง่าย ทำให้ทวิตเตอร์เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในหมู่ผู้ใช้   

        ทุกวันนี้คนหลายสิบล้านคนใช้ประโยชน์จากทวิตเตอร์เพื่อความบันเทิง เพื่อติดตามข้อมูลข่าวสารต่างๆ หรือเพื่อพูดคุยกับเพื่อนฝูง   แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าทวิตเตอร์สามารถนำมาใช้กับการเรียนการสอนได้  

        ถึงแม้การใช้ทวิตเตอร์ในการสอนเด็กอ่านและเขียนจะไม่ได้เป็นหลักสูตรในกระแส หลัก โดยเฉพาะในระบบการศึกษาดั้งเดิมของฝรั่งเศส  แต่วิธีการดังกล่าวกำลังแพร่หลายในหมู่คุณครู  เห็นได้จากชั้นเรียนที่ใช้ทวิตเตอร์ในการเรียนการสอน 100 แห่ง และประมาณกว่าครึ่งหนึ่งในจำนวนนั้นอยู่ในฝรั่งเศส

        ที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในฝรั่งเศส  ทุกๆเช้า นักเรียน 1-2 คนจะมีหน้าที่ทวีตข้อความแรกของวันนั้น  แต่ก่อนที่จะทวีตข้อความออกไปพวกเขาจะต้องเขียนประโยคนั้นลงในสมุด  แก้ไขให้ถูกต้อง  หลังจากนั้นจึงพิมพ์ลงบนทวิตเตอร์  แล้วข้อความที่พวกเขาส่ง(Tweet) ก็จะไปปรากฏบนกระดานสมัยใหม่ในห้องเรียน(SmartBoard) พร้อมกับข้อความจากผู้ติดตาม(Follower) โดยสิ่งที่ทั้งชั้นจับตามองคือข้อความ(Tweet)จากผู้ติดตามนั่นเอง   ในส่วนนี้เราสามารถเห็นได้ว่าเป็นการฝึกทักษะการเขียนและการอ่านของนักเรียนในชั้นเรียนที่ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วม  อีกทั้งยังเป็นการใช้สื่อการสอนที่เรียกความสนใจได้อย่างดีทีเดียว

         นอกจากนั้นโรงเรียนอีกแห่งหนึ่งก็มีการนำทวิตเตอร์มาใช้ในการเรียนเช่นกัน  โดยการที่ให้นักเรียนส่งข้อความ(Tweet) เกี่ยวกับการทัศนศึกษาในปารีส  ซึ่งถือเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองสามารถติดตามการไปทัศนศึกษาของลูกๆได้  ไม่ว่าจะเป็นระหว่างการไปเที่ยวชมหอไอเฟลหรือพิพิธภัณฑ์ลูฟว์ ผ่านทางหน้าจอTwitter

        เหล่าบรรดาผู้ที่มีบทบาททางการศึกษาฝรั่งเศสได้ออกมาให้ความคิดเห็นเกี่ยว กับข้อดีการใช้ทวิตเตอร์ในการเรียนการสอนอย่างมากมาย  ดังเช่น  'จีราด มาร์กี' สมาชิกสถาบันการศึกษาเพื่อเยาวชนแห่งชาติฝรั่งเศส ได้กล่าวว่า  "การทดลองใช้ทวิตเตอร์สำหรับการเรียนการสอน มีขึ้นในบริบทที่ชัดเจนมาก นั่นคือจำกัดอยู่ในโรงเรียนแถบชนบท หรือโรงเรียนสำหรับครอบครัวชนชั้นกลาง หรือโรงเรียนสายอาชีพ และสถานการณ์ของนักเรียนทำให้บรรดาคุณครูต้องหาทางโน้มน้าวและเปิดกว้าง"

        ส่วน 'ยานน์ เลอโร' นักจิตวิทยาและนักบำบัด  กล่าวว่า "การ ส่งหรือทวีตข้อความ ถือเป็นปรากฏการณ์ที่ได้รับความนิยม และเด็กๆ ก็เรียนรู้ภายในเวลาอันรวดเร็วว่าสิ่งที่เขียนลงบนกระดาษจะคงอยู่อย่างนั้น แต่สิ่งที่เขียนลงไปในอินเทอร์เน็ตสามารถลบออกไปได้ ทำให้ไม่ต้องรู้สึกเกรงว่าจะเกิดความผิดพลาด และเปิดโอกาสให้ลองสิ่งใหม่ๆ โดยไม่ต้องรู้สึกกลัวหรือกังวล" 

        นอกจากการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียนแล้ว  ครู'มาส์ ซอง' ยังใช้ทวิตเตอร์สอนเรื่องคำ  และแก้โจทย์คณิตศาสตร์กับนักเรียนนอกเหนือจากการเรียนในห้องเรียนอีกด้วย

        ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าประโยชน์ที่ชัดเจนของการใช้ทวิตเตอร์กับการเรียนการสอนนั้นก็คือ
  • สามารถเข้าถึงได้ง่าย  ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน  ครู  หรือผู้ปกครอง
  • มีความสะดวก  รวดเร็ว
  • มีความน่าสนใจ
  • เป็นการฝึกทักษะการอ่าน และการเขียนไปในตัว
  • สามารถมีการโต้ตอบระหว่างผู้รับสาร และผู้ส่งสารได้ในทันที
  • นอกจากนักเรียนในห้องเรียนแล้วอาจมีนักเรียนจากที่อื่นสามารถมาติดตามทวิตเตอร์และเกิดการเรียนรู้ที่ไม่มีขอบเขต
        นอกจากข้อดีแล้ว  การใช้ทวิตเตอร์กับการเรียนการสอนก็ยังมีข้อเสียอยู่หลายแง่มุม  ดังนี้
  • นักเรียนในชั้นเรียนอาจเกิดความสนใจในการใช้ทวิตเตอร์มากกว่าการสอนของครูหน้าห้อง
  • ยังมีความแพร่หลายในวงจำกัด  เนื่องจากต้องใช้อุปกรณ์ในการส่งข้อความ  และอินเตอร์เน็ต
  • สำหรับบางคน Twitter ถือเป็นเรื่องใหม่ที่ต้องทำความเข้าใจ และทดลองใช้งาน
        แม้ไม่ต้องกลัวในการเขียนทางสื่อดิจิทัล แต่ครูก็ต้องสอนนักเรียนให้ระมัดระวังด้วย โดยชั้นเรียนทวิตเตอร์ทุกชั้นจะมีแนวทางปฏิบัติของตัวเองเพื่อหลีกเลี่ยง ปัญหาที่อาจเกิดจากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ อย่างเช่นการกำหนดให้ใช้ทวิตเตอร์เพื่อทวีตข้อความถึงผู้ปกครอง หรือครู  สำหรับเป็นสื่อในการเรียนการสอนเท่านั้น  นอกจากนั้นนักเรียนยังต้องใช้ภาษาที่สุภาพ และไม่เปิดเผยที่อยู่ รหัส หรือข้อมูลอื่นๆ เกี่ยวกับชีวิตส่วนตัว เพื่อความปลอดภัยของตัวนักเรียนเอง



บทความนี้มีการอ้างอิงข้อมูลมาจาก
บทความนี้มีการใช้รูปภาพประกอบจาก

This entry was posted on and is filed under ,,,,. You can follow any responses to this entry through the RSS 2.0. You can leave a response.

Leave a Reply

Share



Total View

พีรณัฐ ไกรคุ้ม Peeranat Krikhoom
bkk09man@gmail.com