สวนหลวงร.9

สวนหลวง ร.9

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สวนหลวง ร.9
สวนหลวง ร.9 มองเห็นหอรัชมงคลด้านซ้าย
สวนหลวง ร.9 มองเห็นหอรัชมงคลด้านซ้าย
ประเภท สวนชุมชน
ที่ตั้ง ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 เขตประเวศ
พิกัดภูมิศาสตร์ 13.686394°N 100.662661°E
เนื้อที่ 500 ไร่
วันเปิดทำการ พ.ศ. 2530
สถานะทำการ 05.00 - 21.00 น. ทุกวัน
ผู้ดำเนินการ ตราสัญลักษณ์กรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานคร

สวนหลวง ร.9 เป็นสวนสาธารณะและสวนพฤกษศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ประมาณ 500 ไร่ อยู่ในแขวงหนองบอน เขตประเวศ ทางตะวันออกของกรุงเทพมหานคร จัดสร้างเพื่อสร้างเพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในศุภมงคลสมัยเจริญพระชนมพรรษาครบรอบ 60 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530

ประวัติ

ภายในหอรัชมงคล
ภายในหอรัชมงคล

สวนหลวง ร.9 จัดสร้างขึ้นเนื่องจาก แนวคิดที่จะสร้างสวนน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2525 โดยท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาคเป็น ผู้นำ ร่วมกับแนวคิดของกรุงเทพมหานคร ที่ต้องการพื้นที่รับน้ำ และปรับปรุงระบบระบายน้ำให้มีความต่อเนื่อง มีที่พักน้ำท่วมขังก่อนถ่ายเทออกแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อคราวน้ำท่วมกรุงเทพฯ พ.ศ. 2523

ได้มีการจัดตั้ง มูลนิธิสวนหลวง และขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตใช้ชื่อสวนสาธารณะแห่ง ใหม่นี้ว่า "สวนหลวง ร.9" มีการระดมทุนจัดซื้อที่ดิน เชิญชวนให้ประชาชนซื้อดินหน่วยละ 1 ตารางวา สร้างสวน กระจายพื้นที่ 500 ไร่ ออกเป็น 800,000 ตารางเมตร ตารางเมตรละ 500 บาท ต่อมาได้ใช้พื้นที่ของกรุงเทพมหานคร แลกเปลี่ยนที่ดินเพิ่มเติมกับเอกชนในบริเวณใกล้เคียง

หอรัชมงคล

หอรัชมงคล ลักษณะอาคารเป็นรูปเก้าเหลี่ยมด้านเท่า หลังคาโครงสูง ประกอบด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลืองทอง อันเป็นสีวันพระราชสมภพ เป็นศิลปกรรมประยุกต์แห่งสมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งอยู่บนเนิน 9 ระดับ ภายในมีห้อง 9 ห้อง ฝาโดยรอบเป็นกระจกให้ ประชาชนชมได้จากภายนอก ภายในห้องจัดแสดงหุ่นจำลอง โครงการในพระราชดำริ และของใช้ส่วนพระองค์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทาน อาทิ เรือใบซูเปอร์มด แซกโซโฟน แผนที่เก่า เป็นต้น บริเวณภายในอาคารเป็นห้องกว้างขนาดใหญ่ ใช้เป็นที่จัดกิจกรรม จุคนได้ประมาณ 500 คน

การจัดแบ่งพื้นที่ภายในสวนหลวง ร.9

ผังแม่บทสวนหลวง ร9 (2530)
ผังแม่บทสวนหลวง ร9 (2530)
  • บริเวณเฉลิมพระเกียรติ ประกอบด้วยหอรัชมงคล และอุทยานมหาราช ภายในหอรัชมงคลจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจ และเครื่องใช้ส่วนพระองค์
  • สวนพฤกษศาสตร์ เป็นวัตถุประสงค์สำคัญในการจัดสร้างสวนหลวง ร.9 แห่งนี้ เนื้อที่รวม 150 ไร่ มีการจัดพันธุ์ไม้หลักอนุกรมวิธานและนิเวศน์วิทยา และยังเป็นที่รวบรวมไม้พันธุ์ต่างๆ ของไทย รวมทั้งไม้ที่หายาก และสมุนไพรต่างๆ พร้อมทั้งสวนนานาชาติ เช่น สเปน ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น และอังกฤษ เปิดให้เข้าชมเฉพาะวันจันทร์-เสาร์ บริเวณนี้มีอาคารต่าง ๆ ดังนี้
    • หอพฤกษศาสตร์ เป็นที่เก็บรวบรวมตัวอย่างพันธุ์ไม้และเอกสารเกี่ยวกับพันธุ์ไม้
    • อาคารถกลพระเกียรติ เป็นที่ประชุม สัมมนาทางวิชาการ และจัดกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดปี
    • อาคารพันธุ์ไม้ทะเลทราย (จิโอเดสิกโดม) และภายนอกอาคารเป็นที่รวมพันธุ์ไม้ทะเลทราย และไม้อวบน้ำต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
    • อาคารพันธุ์ไม้ในร่ม ภายในอาคารปลูกประดับด้วยไม้ในร่มนานาชนิด นอกจากนี้ยังมีเรือนเฟิร์นและกล้วยไม้ สำหรับรวบรวมพันธุ์เฟิร์นและกล้วยไม้ชนิดต่าง ๆ
  • ตระพังแก้วเก็บน้ำ มีเนื้อที่ 40 ไร่ เป็นที่พักเก็บน้ำเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมขังบริเวณเมืองชั้นใน ใช้ประโยชน์เพื่อการกีฬาทางน้ำ ตลอดจนอนุรักษ์สัตว์น้ำ มีบริการเรือพาย และจักรยานน้ำ
  • สวนรมณีย์ เนื้อที่ 50 ไร่ เป็นการจัดสวนเพื่อเลียนแบบธรรมชาติท้องถิ่น มีน้ำตก ลำธาร ตกแต่งด้วยวัสดุ พันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ และสัญลักษณ์เฉพาะท้องถิ่นนั้นๆ บริเวณนี้ยังมีสวนจีน ซึ่งสถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทยสร้างน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสวนเชิงผา
  • สวนน้ำ เนื้อที่ 40 ไร่ เป็นที่รวบรวมพันธุ์ไม้น้ำสวยงามหลากชนิดปลูกไว้ในลำธาร และบริเวณริมสองฝั่ง
  • สนามราษฎร์ และ ลานอเนกประสงค์ เนื้อที่ประมาณ 70 ไร่ ประกอบด้วยพื้นที่ลานสนามกว้าง และเวทีกลางแจ้ง เป็นสถานที่จัดการแสดงทางวัฒนธรรม ประเพณีและประกวดผลิตผลทางการเกษตร
  • อาคารพันธุ์ไม้ทะเลทราย เป็นที่รวบรวมพันธุ์ไม้ทะเลทราย และไม้อวบน้ำทั้งของไทย และต่างประเทศ
ระหว่างวันที่ 1-10 ธันวาคม ของทุกปี จะมีการจัดงาน งานพรรณไม้อร่ามสวนหลวง ร.9 จัดโดยมูลนิธิสวนหลวง ร.9 ร่วมกับกรุงเทพมหานคร

This entry was posted on and is filed under ,,,,,. You can follow any responses to this entry through the RSS 2.0. You can leave a response.

Leave a Reply

Share



Total View

พีรณัฐ ไกรคุ้ม Peeranat Krikhoom
bkk09man@gmail.com